อาคารสถานที่ภายในบริเวณ ของ สนามกีฬาหัวหมาก

ราชมังคลากีฬาสถาน

ดูบทความหลักที่: ราชมังคลากีฬาสถาน

ราชมังคลากีฬาสถาน (Rajamangala National Stadium) เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ และ พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ

ความสามารถในการรองรับผู้เข้าชมภายในอาคาร จำนวน 80,000 คน ความสามารถในการรองรับผู้เข้าชม (อัฒจันทร์) ภายหลังจากติดตั้งเก้าอี้เพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลเอเชี่ยนคัพ 2007 และกีฬามหาวิทยาลัยโลก 2007 ปัจจุบันมีเก้าอี้ทั้งสิ้น 49,722 ที่นั่ง (เป็นเก้าอี้ VIP จำนวน 172 ที่นั่ง) ทำให้ความจุสนามลดลงจากเดิม 65,000 คน และมีเก้าอี้เพียง 18,527 ที่นั่ง และภายในมีสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐานขนาด105x68m ลู่วิ่ง ลานกรีฑา มีจอวิดีโอสกอร์บอร์ด 1 ตัว และมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ

ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติไทย และเคยจัดการแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้จัดคอนเสิร์ตกลางแจ้ง และการถ่ายทำภาพยนตร์ เป็นต้น [1]

อินดอร์สเตเดียม

ดูบทความหลักที่: อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก

อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก เดิมมีชื่อว่า สนามกีฬากิตติขจร เป็นสนามกีฬาในร่ม สำหรับการแข่งขันและฝึกซ้อมกีฬาในร่ม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 สร้างขึ้นเพื่อรองรับการจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 6 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ[2] ความจุของผู้เข้าชมภายในอาคารได้จำนวน 10,000 - 15,000 คน แต่ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงอาคาร ทำให้ความสามารถในการรองรับผู้เข้าชม (อัฒจันทร์) ได้จำนวน 6,000 ที่นั่ง

อาคารอื่น ๆ

  • อาคารเวลโลโดรม สำหรับแข่งจักรยาน ความจุ 700 ที่นั่ง
  • สนามยิงปืน ความจุ 6,000 ที่นั่ง
  • สระว่ายน้ำ และสระกระโดด ความจุ 15,000 คน
  • อาคารบริการสนามเทนนิส
  • ศูนย์ฝึกกีฬาเพื่อการแข่งขัน
  • ศูนย์ฝึกกีฬาในร่ม
  • อาคารที่ทำการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย
  • ที่พักนักกีฬา รวมทั้งหมด 500 เตียง
  • ห้องสมุด (การกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วมมือกับ กศน)

ใกล้เคียง

สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต สนามกีฬาซานเตียโก เบร์นาเบว สนามกีฬานานาชาติโยโกฮามะ สนามกีฬาเวมบลีย์ สนามกีฬาลอนดอน สนามกีฬาซานมาเมส สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี สนามกีฬาเครสตอฟสกี

แหล่งที่มา

WikiPedia: สนามกีฬาหัวหมาก http://www.fifa.com/en/womens/comp/U19/0,5472,1000... http://maps.google.com/maps?ll=13.760193,100.62463... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7601... http://topicstock.pantip.com/isolate/topicstock/20... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?top... http://www.worldstadiums.com/stadium_pictures/asia... http://www.globalguide.org?lat=13.760193&long=100.... http://www.wikimapia.org/maps?ll=13.760193,100.624... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...