สนามกีฬาอะซาดี
สนามกีฬาอะซาดี

สนามกีฬาอะซาดี

สนามกีฬาอะซาดี (อังกฤษ: Azadi Stadiumcode: en is deprecated ; เปอร์เซีย: ورزشگاه آزادی‎) สนามกีฬาแห่งชาติ และสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติอิหร่าน และเป็นสนามเหย้าของทีมเอสเตกัล และ ทีมเปอร์เซโปลิส ในลีกสูงสุดของอิหร่าน[4] โดยใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 เดิมมีชื่อว่า สนามกีฬาอัรยาเมหร์ (Aryamehr Stadium; ورزشگاه آریامهر‎) ตั้งอยู่ในเขตอัคบาตาน กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เป็นส่วนหนึ่งของอะซาดีสปอร์ตคอมเพล็กซ์[5]อาซาดี้สเตเดียม ปัจจุบันมีความจุทั้งหมด 95,225 คน ถือเป็นสนามฟุตบอลที่เคยมีความจุเป็นอันดับ 4 ของโลก[6] และเคยมีความจุเหนือกว่าสนามกีฬาเวมบลีย์ ของสหราชอาณาจักร และถือเป็นอันดับ 3 ของทวีปเอเชีย รองมาจาก รุงนาโดเมย์เดย์สเตเดียม ของเกาหลีเหนือ (ความจุ 150,000 คน) และซอลต์เลคสเตเดียม ของอินเดีย (ความจุ 120,000 คน) ถูกใช้เป็นสนามแข่งขันหลักในกีฬาเอเชียนเกมส์ 1974 (ครั้งที่ 7)เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1970 และเปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1974 ใช้เงินในการก่อสร้างสูงถึง 1,163,944 ยูโร (ประมาณ 4,888,564,800 บาท) โดยมี อับดอล-อาซิซ ฟาร์มานฟาร์เมียน สถาปนิกที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศอิหร่านเป็นผู้ออกแบบ และใช้คนงานก่อสร้างถึง 100,000 คนมีสถิติยอดผู้ชมสูงสุดอยู่ที่ 128,000 คน ในเกมฟุตบอลโลก 1998 รอบเพลย์ออฟ โซนเอเชีย นัดแรกที่อิหร่าน เป็นเจ้าภาพพบกับ ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC) ได้จัดให้อาซาดี้สเตเดียมเป็นสนามอยู่ในระดับ 5 ดาว เป็นสนามที่ทีมคู่แข่งมักพบเสียงเชียร์ของแฟนฟุตบอลเจ้าถิ่นทำให้เกิดความหวาดหวั่น จนได้รับฉายาว่าเป็น "ดินแดนที่น่ากลัวของทีมเยือน"[1]

สนามกีฬาอะซาดี

สถาปนิก อับดอล-อาซิซ ฟาร์มานฟาร์เมียน
ที่นั่งพิเศษ 137
พื้นสนาม หญ้า
สถิติผู้ชม 128,000 คน
ฟุตบอลโลก 1998 รอบเพลย์ออฟ โซนเอเชีย นัดแรก: 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997
วิศวกรโครงสร้าง เจมส์ เรย์มอนด์ วิธเทิล
เปิดใช้สนาม ค.ศ. 1974
ความจุ 78,116 (2016–)[3]
เจ้าของ อะซาดีสปอร์ตคอมเพล็กซ์
ก่อสร้าง ค.ศ. 1970
ชื่อเดิม สนามกีฬาอัรยาเมหร์
ขนาดสนาม 110 เมตร x 75 เมตร (360 ฟุต × 246 ฟุต)
ที่ตั้ง เขตอัคบาตาน กรุงเตหะราน จังหวัดเตหะราน ประเทศอิหร่าน
ผู้จัดการโครงการ สกิดมอร์, โอวิงส์ และเมอร์ริล
ชื่อเต็ม สนามกีฬาอะซาดีอเตหะราน[2]

ใกล้เคียง

สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ สนามกีฬาเวมบลีย์ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต สนามกีฬาลอนดอน สนามกีฬาซานเตียโก เบร์นาเบว สนามกีฬานานาชาติโยโกฮามะ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี สนามกีฬาเครสตอฟสกี สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์)