สนามกีฬาแอ็นสท์_ฮัพเพิล
สนามกีฬาแอ็นสท์_ฮัพเพิล

สนามกีฬาแอ็นสท์_ฮัพเพิล

ยูฟ่า สนามกีฬาแอ็นสท์ ฮัพเพิล ( Ernst-Happel-Stadion (วิธีใช้·ข้อมูล) ) ซึ่งมีชื่อเดิมว่า สนามกีฬาพราเทอร์ (Praterstadion; ใช้จนถึง ค.ศ. 1992) และบางครั้งเรียกว่า สนามกีฬาเวียนนา (Wiener-Stadion) เป็นสนามฟุตบอลที่ตั้งอยู่ในเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีความจุ 50,865 ที่นั่ง นับเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ สนามก่อสร้างในช่วง ค.ศ. 1929–1931 เพื่อใช้งานในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกผู้ใช้แรงงานครั้งที่ 2 ในด้านสถาปัตยกรรม สนามได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวเยอรมันชื่อว่า อ็อทโท แอ็นสท์ ชไวท์เซอร์ สนามตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นักฟุตบอลชาวออสเตรียนามว่า แอ็นสท์ ฮัพเพิล ที่เสียชีวิตใน ค.ศ. 1992 สนามฟุตบอลแห่งนี้ยังใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 ทั้งหมด 7 นัด ซึ่งรวมถึงนัดชิงชนะเลิศที่สเปนสามารถเอาชนะเยอรมนีได้สนามฟุตบอลมีนครเวียนนาเป็นเจ้าของ และอยู่ภายใต้การจัดการของ Wiener Stadthalle Betriebs und Veranstaltungsgesellschaft m.b.H. ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ วีนโฮลดิง สนามได้รับการประเมินจากยูฟ่าให้เป็นสนามฟุตบอลประเภท 4 ดาว นอกจากนี้ ยังเป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติออสเตรีย และเป็นสนามเหย้าชั่วคราวของสโมสรจากเวียนนาในการแข่งขันยูฟ่ายูโรปาลีกสนามฟุตบอลสามารถเชื่อมต่อกับสถานีชตาดีอ็อนในเส้นทางรถไฟใต้ดินเวียนนา สาย U2

สนามกีฬาแอ็นสท์_ฮัพเพิล

สถาปนิก อ็อทโท แอ็นสท์ ชไวท์เซอร์
ประเภท สนามฟุตบอลยูฟ่า 4 ดาว
สถิติผู้ชม 90,726 คน (ออสเตรีย พบ สเปน เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1960)
เปิดใช้สนาม 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1931
ความจุ 50,865 ที่นั่ง[1] (end-stage)
68,500 ที่นั่ง (center-stage)
เจ้าของ นครเวียนนา
ก่อสร้าง ค.ศ. 1929–1931
ชื่อเดิม สนามกีฬาพราเทอร์ (ค.ศ. 1931–1992)
ปรับปรุง ค.ศ. 1986
ผู้ดำเนินการ Wiener Stadthalle Betriebs- und Veranstaltungsgesellschaft m.b.H.
ขนาดสนาม 105 × 68 เมตร (344 × 223 ฟุต)
พิกัด 48°12′25.8″N 16°25′13.9″E / 48.207167°N 16.420528°E / 48.207167; 16.420528พิกัดภูมิศาสตร์: 48°12′25.8″N 16°25′13.9″E / 48.207167°N 16.420528°E / 48.207167; 16.420528
ที่ตั้ง Meiereistraße 7 เวียนนา ออสเตรีย
ลงเสาเข็ม ค.ศ. 1929

ใกล้เคียง

สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ สนามกีฬาเวมบลีย์ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต สนามกีฬาลอนดอน สนามกีฬาซานเตียโก เบร์นาเบว สนามกีฬานานาชาติโยโกฮามะ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี สนามกีฬาเครสตอฟสกี สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์)