สนิมย้อย
สนิมย้อย

สนิมย้อย

สนิมย้อย (อังกฤษ: rusticle) คือการก่อตัวของสนิมเหล็กที่เกิดขึ้นใต้น้ำลึก สะสมกันเป็นแท่งคล้ายกับน้ำแข็งย้อยหรือหินย้อย สนิมย้อยเป็นที่คุ้นเคยจากภาพถ่ายใต้น้ำของซากเรืออับปางเช่น อาร์เอ็มเอส ไททานิก เรือประจัญบานบิสมาร์ค และเรือยูเอสเอส อินเดียแนโพลิส[1] สนิมย้อยถูกสร้างขึ้นโดยจุลินทรีย์ที่กินเหล็ก[2]คำว่า rusticle ในภาษาอังกฤษเป็นหน่วยคำควบที่ประกอบขึ้นจากคำ rust ("สนิม") และคำ icicle ("น้ำแข็งย้อย") และได้ถูกใช้ครั้งแรกโดยรอเบิร์ต แบลลาร์ด คนแรกที่สังเกตเห็นสนิมย้อยบนซากเรือไททานิกในปีพ.ศ. 2529[3] สนิมย้อยบนเรือไททานิกได้รับการตรวจสอบครั้งแรกใน พ.ศ. 2539 โดยรอย คัลลิมอร์ แห่งมหาวิทยาลัยริไจนาในแคนาดา แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ภายในสนิมย้อยของไททานิกคือ Halomonas titanicae ถูกค้นพบใน พ.ศ. 2553 โดยเฮนรีเอตตา แมนน์ สนิมย้อยสามารถก่อตัวบนวัตถุที่ทำด้วยเหล็กที่จมอยู่ใต้น้ำ ได้แก่โซ่สมอเรือ[4] และอุปกรณ์ในงานใต้ทะเล สนิมย้อยจะก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในสภาพอากาศที่อบอุ่น และแม้กระทั่งในน้ำโดยมีออกซิเจนละลายน้ำเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย[5]