สนุกนิ์นึก

สนุกนิ์นึก เป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกของไทย ประพันธ์โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร ตีพิมพ์เป็นครั้งแรก (ตอนแรก) ในหนังสือ "วชิรญาณวิเศษ" (แผ่น 28 วันที่ 6 เดือน 8 ปีจอ อัฐศก 1248) โดยแต่งเลียนแบบสำนวนหนังสือภาษาอังกฤษ โดยเริ่มแรกทรงตั้งพระทัยจะทดลองแต่เป็นเรื่องยาวแบบนวนิยายมีเนื้อหาเป็นบทสนทนาถกของพระในวัดบวรนิเวศ 4 รูป ถกเถียงถึงการที่พระรูปหนึ่งจะสึกออกไปแต่งงาน แต่ตีพิมพ์ได้ตอนเดียวก็ต้องยุติไป เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีเนื้อหากระทบกระเทียบต่อศาสนาในสมัยนั้น[1] และเป็นการเขียนแนวใหม่ที่คนในยุคนั้นยังไม่รู้จักดีพอ โดยเฉพาะ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งทรงปกครองวัดบวรนิเวศ ทรงเข้าพระทัยว่า กรมหลวงพิชิตปรีชากรเอาเรื่องจริงมาเขียนประจานให้ร้ายวัดบวรนิเวศ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงน้อยพระทัยโทมนัสเดือดร้อนมากมาย จนรัชกาลที่ 5 ต้องทรงไกล่เกลี่ยแก้ไขด้วยพระองค์ เรื่องจึงระงับลงได้ และกรมหลวงพิชิตปรีชากรก็ไม่กล้าทรงแต่งเรื่องสนุกนิ์นึกต่อไป[2]