ตัวกรองแบบพาสซีฟ ของ สภาพพาสซีฟ

ตัวกรองแบบพาสซีฟเป็นตัวกรองอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ทำจากชิ้นส่วนพาสซีฟเท่านั้น - ซึ่งตรงข้ามกับตัวกรองแบบแอคทีฟ มันไม่ต้องการแหล่งจ่ายไฟจากภายนอก (นอกเหนือจากสัญญาณ) เนื่องจากตัวกรองส่วนใหญ่เป็นเชิงเส้น ในกรณีส่วนใหญ่ ตัวกรองพาสซีฟจะประกอบด้วยเพียงแค่ชิ้นส้วนพื้นฐานเชิงเส้นสี่อย่าง - ตัวต้านทาน, ตัวเก็บประจุ, ตัวเหนี่ยวนำและหม้อแปลง ตัวกรองพาสซีฟที่ซับซ้อนมากกว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนไม่เชิงเส้นหรือชิ้นส่วนเชิงเส้นที่ซับซ้อนมากกว่าเช่นสายส่ง

ตัวแยกสัญญาณโทรทัศน์ ประกอบด้วยตัวกรองพาสซีฟแบบ high-pass (ซ้าย) และแบบ low-pass (ขวา) สายอากาศจะเชื่อมต่อกับขั้วสกรูด้านซ้ายของศูนย์กลาง

ตัวกรองพาสซีฟมีข้อดีเหนือตัวกรองแอคทีฟหลายประการดังนี้:

  • รับประกันความมั่นคง
  • ดีกว่าที่จะใช้กับสัญญาณขนาดใหญ่ (หลายสิบแอมแปร์, หลายร้อยโวลต์) ซึ่งอุปกรณ์แอคทีฟมักจะทำไม่ได้
  • ไม่จำเป็นต้องมีแหล่งจ่ายพลังงาน
  • มักจะมีราคาถูกกว่าในการใช้ชิ้นส่วนย่อย (ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ขดลวดขนาดใหญ่)
  • สำหรับตัวกรองเชิงเส้น อาจจะเป็นเส้นตรงมากขึ้นซึ่งขึ้นอยู่กับส่วนประกอบที่ใช้

พวกมันมักจะถูกใช้ในการออกแบบลำโพงแบบครอสโอเวอร์ (เนื่องจากแรงดันไฟฟ้าและกระแสขนาดใหญ่ในระดับปานกลาง และความยากต่อการเข้าถึงแหล่งจ่ายไฟ), ตัวกรองในเครือข่ายการกระจายไฟฟ้า (เนื่องจากแรงดันไฟฟ้าและกระแสขนาดใหญ่), แหล่งจ่ายไฟแบบบายพาส (เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานแบบต้นทุนต่ำในบางกรณี), เช่นเดียวกับความหลากหลายของวงจรบ้านไม่ต่อเนื่อง (สำหรับค่าใช้จ่ายต่ำและความเรียบง่าย) ตัวกรองแบบพาสซีฟเป็นสิ่งผิดปกติในการออกแบบวงจรรวมแบบโมโนลิทิก ที่ซึ่งอุปกรณ์แอคทีฟมีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับตัวต้านทานและตัวเก็บประจุ และตัวเหนี่ยวนำมีราคาแพงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ตัวกรองพาสซีฟยังคงถูกพบในวงจรรวมแบบไฮบริด อันที่จริงมันอาจจะเป็นความปรารถนาที่จะควบรวมตัวกรองพาสซีฟที่จะนำนักออกแบบไปใช้รูปแบบไฮบริด