ประวัติ ของ สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ

ฐานันดรที่สาม (สามัญชน) ไม่พอใจระบบการลงคะแนนเสียงในสภาฐานันดร จึงแยกออกมาตั้งสภาเป็นของตัวเองชื่อว่าสมัชชาแห่งชาติ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พยายามล้มล้างสภานี้แต่ก็ไม่เป็นผล ในที่สุด พระองค์จึงขอร้องให้ฐานันดรที่หนึ่ง (พระ) และฐานันดรที่สอง (ขุนนาง) เข้าร่วมประชุมกับสมัชชาแห่งชาติ ชนชั้นพระเกินครึ่งยอมเข้าร่วม แต่ชนชั้นขุนนางยอมเข้าร่วมเพียง 47 คน ในที่สุด สภาใหม่ที่เกิดจากสามฝ่ายนี้จึงใช้ตั้งชื่อว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ ในวันที่ 9 กรกฎาคมนั้นเอง และภายหลังการทลายคุกบัสตีย์ในวันที่ 14 กรกฎาคม สภาแห่งนี้ก็เริ่มทำหน้าที่เป็นรัฐบาลฝรั่งเศสภายในตัว

สภานี้ไม่ได้กำหนดจำนวนสมาชิกที่แน่นอน ในกลางเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1789 สภานี้มีผู้แทนทั้งหมด 1,177 คน เป็นพระ 295 คน, เป็นขุนนาง 278 คน และเป็นสามัญชน 604 คน ในบางช่วง จำนวนสมาชิกในสภาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนถึง 1,315 คน

ใกล้เคียง

สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2539 สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย) สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550 สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งเนปาล สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2502 สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย พ.ศ. 2491) สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ สภาล่าง