เบื้องหลัง ของ สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือที่เรียกกันว่า Cha-Cha ในฟิลิปปินส์ ซึ่งหมายถึง กระบวนการทางการเมืองและกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขหรือปรับปรุงรัฐธรรมนูญแห่งฟิลิปปินส์ฉบับปี ค.ศ. 1987 โดยสามารถแก้ไขได้ทั้งหมดสามวิธี: โดยการเสนอจากประชาชน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญและการประชุมแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งทั้งสามวิธีนั้นจะนำไปส฿การลงประชามติโดยผู้ปรับปรุงหรือผู้แก้ไขรัฐธรรมนูญ และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากเสียงส่วนใหญ่โดยชาวฟิลิปปินส์ จึงจะมีผลบังคับใช้ได้ หลังจากได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2004 อาร์โรโยได้ออกบัญญัติบริหารที่ 453[3] ซึ่งจัดตั้งคณะกรรมการสภาที่ปรึกษา นำโดย Jose V. Abueva[4] มีหน้าที่ในการเสนอการปรับปรุงแก้ไขที่จำเป็นจากรัฐธรรมนูญแห่งปี ค.ศ. 1987 หลังจากที่ได้มีการประชุมในหลายภาคส่วนของสังคม หนึ่งปีต่อมา คณะกรรมการเสนอปรับปรุงได้มีข้อเสนอ[5] ซึ่งรวมไปถึง: การเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปยังระบบรัฐสภาแบบสภาเดียว การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ การกระจายอำนาจจากรัฐบาลกลางมากขึ้น และการเพิ่มอำนาจให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นผ่านทางระบบรัฐสภา-รัฐบาลกลาง[6] ขณะที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญและการเปิดเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ มักจะได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในประเทศ[7] อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวได้รับการคัดค้านจากธุกริจขนาดใหญ่ อย่างเช่น Makati Business Club[8]

ใกล้เคียง

สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2539 สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย) สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550 สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งเนปาล สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2502 สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย พ.ศ. 2491) สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ สภาล่าง