สภาเซมสกี
สภาเซมสกี

สภาเซมสกี

สภาเซมสกี (รัสเซีย: зе́мский собо́р, [ˈzʲemskʲɪj sɐˈbor]) เป็นรัฐสภาของอาณาจักรซาร์รัสเซีย โดยแบ่งประเภทสมาชิกตามหลักฐานันดรแห่งราชอาณาจักร ดํารงอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17สมาชิกสภาเซมสกีแบ่งออกเป็นสามชนชั้นในสังคมศักดินา ได้แก่ ขุนนางและข้าราชการระดับสูง สมัชชาศักดิ์สิทธิ์ ของบาทหลวงนิกายออร์ทอดอกซ์ และผู้แทนของ "สามัญชน" ประกอบด้วยเหล่าพ่อค้าและชาวเมือง[1] สภาเซมสกีอาจถูกจัดขึ้นโดยพระเจ้าซาร์ อัครบิดร หรือสภาดูมาโบยาร์ ก็ได้ เพื่อตัดสินปัญหาขัดแย้งหรือผ่านข้อกฎหมายสําคัญ[2]ซาร์อีวานผู้โหดเหี้ยมเรียกประชุมสภาเซมสกีเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1549 การเรียกประชุมหลาย ๆ ครั้งมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตรายาง แต่ในอีกทางหนึ่งก็เป็นไปเพื่อรับฟังแนวคิดจากขุนนางชั้นผู้น้อยและชาวเมืองเช่นกัน หลังจากการสิ้นสุดราชวงศ์รูลิค ซึ่งก่อให้เกิดวิกฤตการการสืบราชสมบัติ สภาเซมสกีได้ลงมติเลือกโบริส โกดูนอฟ ขึ้นเป็นพระเจ้าซาร์พระองค์ใหม่ในปี ค.ศ. 1598 เป็นสาเหตุหนึ่งซึ่งนําไปสู่ช่วงเวลาแห่งความวุ่นวาย ภายหลังจากการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าซาร์มีไฮล์ที่ 1 ในปี ค.ศ. 1613 สภาเซมสกีก็เริ่มประชุมกันปีละครั้ง แต่เมื่อราชวงศ์โรมานอฟเริ่มมีความมั่นคงขึ้น สภาเซมสกีก็เริ่มสูญเสียอํานาจ โดยหลังจากการประชุมเพื่อลงนามในสนธิสัญญาเพเรยาสลาฟ เมื่อปี ค.ศ. 1654 ก็ไม่มีการเรียกประชุมอีกเลยเป็นเวลาสามสิบปี สภาเซมสกีครั้งสุดท้ายถูกจัดขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ 1680 เพื่อยกเลิกระบบ มานิสชิสเตโว (mestnichestvo) และลงนามในสนธิสัญญา"สันติภาพตลอดกาล" กับโปแลนด์

ใกล้เคียง