ชาติสมาชิก ของ สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติซึ่งเก่าแก่ที่สุด คือของญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ โดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ให้การรับรองเมื่อ พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ส่วนติมอร์-เลสเตเป็นคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติใหม่ล่าสุด ซึ่งเข้าร่วมเมื่อปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) สำหรับคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งมาเก๊าของจีนนั้น สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียให้การรับรอง แต่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลไม่ให้การรับรอง และไม่ได้เข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ซึ่งในตารางต่อไปนี้ ปีที่ปรากฏคือ ปีคริสต์ศักราชที่ก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาตินั้นๆ และปีที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ให้การรับรองคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาตินั้นๆ หากไม่ใช่ปีเดียวกัน

ประเทศรหัสคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติก่อตั้งเมื่ออ้างอิง
อัฟกานิสถานAFGคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ อัฟกานิสถาน1935/1936
บาห์เรนBRNคณะกรรมการโอลิมปิกบาห์เรน1978/1979
บังกลาเทศBANสมาคมโอลิมปิกแห่งบังกลาเทศ1979/1980
ภูฏานBHUคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งภูฏาน1983
บรูไนBRUสภาโอลิมปิกแห่งชาติ บรูไนดารุสซาลาม1984
กัมพูชาCAMคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ กัมพูชา1983/1994
จีนCHNคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งจีน1910/1979
ฮ่องกงHKGสหพันธ์กีฬาและคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งฮ่องกงของจีน1950/1951
อินเดียINDสมาคมโอลิมปิกแห่งอินเดีย1927
อินโดนีเซียINAคณะกรรมการกีฬาแห่งชาติ อินโดนีเซีย1946/1952
อิหร่านIRIคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน1947
อิรักIRQคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ อิรัก1948
ญี่ปุ่นJPNคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งญี่ปุ่น1911/1912
จอร์แดนJORคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งจอร์แดน1957/1963
คาซัคสถานKAZคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ สาธารณรัฐคาซักสถาน1990/1993
เกาหลีเหนือPRKคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี1953/1957
เกาหลีใต้KORคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเกาหลี1946/1947
คูเวตKUWคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งคูเวต1957/1966
คีร์กีซสถานKGZคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ สาธารณรัฐคีร์กีซสถาน1991/1993
ลาวLAOคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติลาว1975/1979
เลบานอนLBNคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเลบานอน1947/1948
มาเก๊าMACคณะกรรมการกีฬาและโอลิมปิกมาเก๊า1987/—
มาเลเซียMASสภาโอลิมปิกแห่งมาเลเซีย1953/1954
มัลดีฟส์MDVคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งมัลดีฟส์1985
มองโกเลียMGLคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ มองโกเลีย1956/1962
พม่าMYAคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งพม่า1947
เนปาลNEPคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเนปาล1962/1963
โอมานOMAคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งโอมาน1982
ปากีสถานPAKคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งปากีสถาน1948
ปาเลสไตน์PLEคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งปาเลสไตน์1995
ฟิลิปปินส์PHIคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งฟิลิปปินส์1911/1929
กาตาร์QATคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งกาตาร์1979/1980
ซาอุดีอาระเบียKSAคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งซาอุดีอาระเบีย1964/1965
สิงคโปร์SGPสภาโอลิมปิกแห่งชาติ สิงคโปร์1947/1948
ศรีลังกาSRIคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ศรีลังกา1937
ซีเรียSYRคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งซีเรีย1948
จีนไทเปTPEคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งจีนไทเป1960
ทาจิกิสถานTJKคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน1992/1993
ไทยTHAคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย1948/1950
ติมอร์-เลสเตTLSคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ติมอร์-เลสเต2003
เติร์กเมนิสถานTKMคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ เติร์กเมนิสถาน1990/1993
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์UAEคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์1979/1980
อุซเบกิสถานUZBคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน1992/1993
เวียดนามVIEคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเวียดนาม1976/1979
เยเมนYEMคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเยเมน1971/1981

อดีตสมาชิก

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่ง อิสราเอล (อังกฤษ: Olympic Committee of Israel; รหัส: ISR; ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2476; ค.ศ. 1933 - ไอโอซีรับรองเมื่อ พ.ศ. 2495; ค.ศ. 1952 ) เคยเป็นชาติสมาชิกของสหพันธ์เอเชียนเกมส์ แต่ถูกกีดกันออกจากสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ขณะที่มีการก่อตั้งขึ้นใหม่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) เนื่องจากเหตุการณ์สังหารหมู่ ระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 20 ที่นครมิวนิกของเยอรมนีตะวันตก ปัจจุบันอิสราเอลเป็นสมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งยุโรป (European Olympic Committees) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994)

ใกล้เคียง

สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย สภาโอลิมปิกมาเลเซีย สภาโอลิมปิกแห่งชาติบรูไนดารุสซาลาม สภาโอลิมปิกแห่งชาติสิงคโปร์ สภาทอล์ค สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอารักษ์ สภาองคมนตรีอังกฤษ สภาวอลลูน สภาองคมนตรีไทย