สมดุลทางกลศาสตร์
สมดุลทางกลศาสตร์

สมดุลทางกลศาสตร์

สมดุลทางกลศาสตร์ในทางกลศาสตร์คลาสสิก อนุภาคที่อยู่ในภาวะสมดุลกล คือมีแรงลัพธ์ต่ออนุภาคที่เป็นศูนย์ สำหรับระบบทางฟิสิกส์ที่ประกอบด้วยระบบย่อยๆหลายๆระบบรวมกัน ระบบนั้นจะอยู่ในภาวะสมดุลได้ก็ต่อเมื่อแรงลัพธ์ที่กระทำต่อระบบย่อยๆทั้งหมดเท่ากับศูนย์นอกจากการกำหนดสมดุลทางกลในแง่ของแรงแล้วยังมีคำจำกัดความอื่น ๆ อีกมากมายสำหรับความสมดุลทางกล ในแง่ของโมเมนตัม (Momentum) ระบบจะอยู่ในภาวะสมดุล หากโมเมนตัมของส่วนๆย่อยในระบบมีค่าคงตัว หรือในแง่ของความเร็ว (Velocity) ระบบจะอยู่ในภาวะสมดุลถ้าความเร็วคงที่ สำหรับสภาวะสมดุลกลการหมุน โมเมนตัมเชิงมุมของวัตถุจะต้องอนุรักษ์ และทอร์ก (Torque) เท่ากับศูนย์ โดยทั่วไปในระบบอนุรักษ์ สมดุลจะเกิดขึ้นเมื่อจุดหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นในระบบ มีอัตราการเปลี่ยนแปลงพลังงานศักย์ ในพิกัดทั่วไปเป็นศูนย์ถ้าอนุภาคในสภาวะสมดุลมีความเร็วเป็นศูนย์ อนุภาคนั้นจะอยู่ในภาวะสมดุลสถิต (Static equilibrium) เนื่องจากอนุภาคทั้งหมดในภาวะสมดุลมีความเร็วคงที่ นั่นคืออนุภาคจะอยู่นิ่งเสมอ เมื่อพิจารณาในกรอบอ้างอิงเฉื่อย (Inertial reference frame)