สมมูลเท็จ
สมมูลเท็จ

สมมูลเท็จ

สมมูลเท็จ (อังกฤษ: false equivalence) เป็นเหตุผลวิบัติซึ่งมีการลากสมมูลระหว่างเรื่องสองเรื่องโดยอยู่บนการให้เหตุผลที่มีข้อบกพร่องหรือเป็นเท็จ เป็นเหตุผลวิบัติประเภทไม่สอดคล้องกัน (fallacy of inconsistency)[1]เหตุผลวิบัติแบบนี้หมายถึงเมื่อบุคคลแบ่งปันลักษณะร่วมระหว่างเรื่องสองเรื่องที่สันนิษฐานว่าแสดงสมมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอันดับของขนาด (order of magnitude) เมื่อสมมูลไม่จำเป็นต้องเป็นผลลัพธ์ตามตรรกะเสมอไป[2] สมมูลเท็จเป็นผลโดยทั่วไปเมื่อมีการชี้ความคล้ายกันว่าเท่ากัน แต่เมื่อไตร่ตรองโดยถี่ถ้วนแล้วความคล้ายกันนั้นตั้งอยู่บนการทำให้ง่ายเกิน (oversimplification) หรือละเลยต่อปัจจัยอื่น ๆ แบบรูปของสมมูลเท็จ เช่น "ถ้า ก มีลักษณะ ค และ ง, และ ข มีลักษณะ ง และ จ; ทั้ง ก และ ข มีลักษณะ ง, ดังนั้น ก และ ข จึงเท่ากัน" ทั้งนี้ ไม่จำเป็นว่า ง ต้องปรากฏอยู่ในทั้งสองเรื่องที่นำมาเปรียบเทียบกัน คือเพียงแต่ชี้ให้เห็นความคล้ายกันก็ถือว่าเข้าข่ายเหตุผลวิบัติชนิดนี้แล้วการให้เหตุผลสมมูลเท็จมักใช้ในการหนังสือพิมพ์[3][4] และในการเมือง เมื่อมีการเปรียบเทียบข้อบกพร่องของนักการเมืองคนหนึ่งกับนักการเมืองที่มีสภาพต่างกันโดยสิ้นเชิงของผู้อื่น[5]