สมรรถนะทางการสื่อสาร

สมรรถนะทางการสื่อสาร (อังกฤษ: Communicative competence) เป็นศัพท์ที่ใช้ในภาษาศาสตร์ ซึ่งหมายถึง การใช้ความรู้ทางด้านไวยากรณ์ วากยสัมพันธ์ สัณฐานวิทยา สัทศาสตร์ และอื่น ๆ รวมถึงความรู้ทางสังคมเกี่ยวกับวิธีและเวลาในการใช้ถ้อยคำอย่างเหมาะสมเดลล์ ไฮมส์ (พ.ศ. 2509) [1] ได้กล่าวว่าการรับรู้ยังไม่เพียงพอในความแตกต่างระหว่าง สมรรถนะทางภาษาศาสตร์ (linguistic competence) กับประสิทธิภาพทางการใช้ภาษา (linguistic performance) ในงานของโนม ชอมสกี (พ.ศ. 2508) [2] "รูปแบบทางการสื่อสารและหน้าที่ของการสื่อสารมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน" [3] คำศัพท์และแนวคิดนี้บุกเบิกโดย เดลล์ ไฮมส์ ปัจจุบันรู้จักกันว่าเป็น ชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร (Ethnography of Communication)แนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะทางการสื่อสารเป็นหนึ่งในทฤษฎีสำคัญในหลักวิธีและแนวทางการสื่อสารในการสอนภาษาต่างประเทศ [3] รูปแบบเชิงแนวคิดมีอย่างน้อย 3 รูปแบบหลัก คือความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะทางการสื่อสารได้รับอิทธิพลมาจากสาขาสัทวิทยา (Phonology) และปรัชญาแห่งภาษา รวมถึง การทำงานเกี่ยวกับการพูดในสถานการณ์ต่าง ๆ [8]