สมัชชาคนจน

สมัชชาคนจน เป็นเครือข่ายชาวบ้านที่ได้รับความเดือนร้อนในประเด็นความขัดแย้งในสิทธิการใช้ทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม และเครือข่ายอื่นๆในช่วง พ.ศ. 2538 ได้มีการประสานงานเพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่ายระดับภาคต่างๆ ที่กำลังเคลื่อนไหวต่อสู้ เช่น สมัชชาเขื่อนแห่งชาติ เครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงานฯ เครือข่ายสลัม เครือข่ายชุมชนท้องถิ่นคัดค้านโรงไฟฟ้าพลังขยะลิกไนท์ อ.หางดง (คณะกรรมการประสานงานประชาชนเพื่อท้องถิ่น - ค.ป.ถ.) กรณีคัดค้านศูนย์ราชการโพธิ์เขียว จ.สุพรรณบุรี รวมทั้ง สมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน - สกย.อ. สมัชชาคนจน ให้คำอธิบายตัวเองว่าเป็น "เครือข่ายของชาวบ้านคนยากคนจนจากชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางสงครามการแย่งชิง ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ระหว่างรัฐและภาคธุรกิจกับชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนท้องถิ่นทั้งในชนบทและในเมือง นโยบาย และโครงการพัฒนาของรัฐ กฎหมาย ฯลฯ ได้รุกรานวิถีชีวิตปกติ ละเมิดสิทธิในการจัดการทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น ทำลายวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย"ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (วันสิทธิมนุษยชนสากล) สมัชชาคนจนได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีตัวแทนชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบทั้งในประเทศ และอีก 10 ประเทศในทวีปเอเชีย ได้เข้าร่วมในการก่อตั้ง ภายใต้ "คำประกาศลำน้ำมูล" หรือ "ปฏิญญาปากมูล" ที่ร่างโดยตัวแทนของเครือข่าย ณ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานีวัตถุประสง์ในการรวมเป็นเครือข่าย สมัชชคนจน ก็เพื่อเป็นเวทีรวมพลังแห่งความร่วมมือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ประสานความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน"เรามีความเห็นร่วมกันว่า แนวความคิดที่สนับสนุนแต่เพียงการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัฐ และภาคธุรกิจเอกชน เป็นแนวคิดที่เป็นอันตรายต่อประชาชนและต่อการพัฒนาสังคม จึงถือเป็นการจำเป็นอย่างเร่งด่วน ที่จะต้องได้รับการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงทัศนะ ความคิด ยุทธศาสตร์ และการปฏิบัติในกระบวนการพัฒนาทั้งของรัฐและบรรษัทธุรกิจเอกชนเสียใหม่ ตามแนวทางที่จะมุ่งไปสู่ความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติที่ไร้พรมแดน" คำประกาศลำน้ำมูล, 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538ในช่วงแรกสมัชชาคนจน จัดโครงสร้างของเครือข่าย โดยมีคณะกรรมการที่มาจากกลุ่มปัญหาที่ได้รับผลกระทบ 16 กลุ่มๆ ละ 1 คน ตัวแทนภาคๆ ละ 1 คน กรรมการตัวแทนเครือข่ายต่างประเทศ 1 คน ด้านสิ่งแวดล้อม 2 เครือข่ายลักษณะของเครือข่ายสมัชชาคนจน ประกอบด้วย ชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่น ชาวบ้านที่ประสบกับปัญหาความขัดแย้ง อาศัยอยู่ในเขตป่า คนจนในเมือง ฯลฯ กับพันธมิตรที่เป็นคนชั้นกลางในเมือง ประกอบด้วย นักอนุรักษ์ NGOs นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา ฯลฯ ซึ่งรวมกันเป็นเครือข่ายและร่วมกันเคลื่อนไหวต่อสู้ เพื่อปกป้องสิทธิและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติร่วมกันสมัชชาคนจนถือได้ว่าเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน