ประวัติ ของ สยามสปอร์ตเทเลวิชัน

บริษัท สปอร์ตสแอนด์เลเซอร์โปรโมชัน จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534[1] เพื่อดำเนินการจัดซื้อลิขสิทธิ์วีดิทัศน์กีฬาจากต่างประเทศ รวมทั้งภาพสไลด์เกี่ยวกับกีฬา เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการทำหนังสือในเครือสยามสปอร์ต โดยหลังจากเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท สยามสปอร์ต เทเลวิชัน จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2549[2] จึงโอนส่วนงานจัดซื้อลิขสิทธิ์ภาพกีฬา สำหรับใช้ผลิตสิ่งพิมพ์ ไปขึ้นตรงกับบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ส่วนการจัดซื้อลิขสิทธิ์วีดิทัศน์กีฬา เปลี่ยนรูปแบบจากการบันทึกลงม้วนวิดีโอเทปเพื่อให้เช่าในร้านสตาร์ซอคเก้อร์ เป็นการนำมาใช้ออกอากาศทางช่องโทรทัศน์ของบริษัทเอง

สยามสปอร์ตนิวส์

สยามกีฬาทีวี เป็นช่องโทรทัศน์เคเบิล ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกีฬาเป็นหลัก ซึ่งออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง แห่งแรกในประเทศไทย เริ่มออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2550 ทางช่องเอ็นบีที 19 (ต่อมาย้ายไปออกอากาศ ทางทรูวิชันส์ช่อง 69 และตั้งแต่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ย้ายไปออกอากาศทางช่อง 116 จนถึงการออกอากาศช่องนี้เป็นวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556) แต่เดิมดำเนินการโดยบริษัท สยามเทเลซีน จำกัด (ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2536)[3] ผู้เข้ารับเช่าช่วงผลิตรายการทางสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท.เอฟเอ็ม 99.0 เมกะเฮิรตซ์ สปอร์ตเรดิโอ ทั้งหมดให้กับบริษัท สยามอินเตอร์คอมิคส์ จำกัด (บริษัท สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 (ปัจจุบัน บมจ.สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย รับกลับไปดำเนินการเอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน)

สยามกีฬาทีวี มีโยธิน อารีย์การเลิศ เป็นผู้อำนวยการสถานีฯ นำเสนอการถ่ายทอดสดและรายการโทรทัศน์ ครอบคลุมกีฬาทุกประเภท ทั้งในและต่างประเทศ รวมอยู่ในช่องรายการเดียวกัน โดยทีมคอลัมนิสต์และทีมข่าว ของหนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวัน ส่วนรายการที่นำเสนอมาตั้งแต่ยุคแรกคือ นานาทรรศนะกับบิ๊กจ๊ะ (ปัจจุบันคือรายการ บิ๊กจ๊ะ เจาะกีฬา) โดยสาธิต กรีกุล, สนทนากีฬากับจ่าแฉ่ง (ปัจจุบันคือรายการ ครอบจักรวาลกีฬาโดยจ่าแฉ่ง) โดยสมชาย กรุสวนสมบัติ และ สยามกีฬาคาเฟ่ โดยทีมคอลัมนิสต์เครือสยามสปอร์ต สำหรับรายการแรกที่ออกอากาศคือ ถ่ายทอดสดการแข่งขันตะกร้อลอดห่วงน็อกเอาต์ จากท้องสนามหลวง[4] ต่อมาเมื่อมีอีกสองช่อง จึงส่งผ่านรายการที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องไปออกอากาศปัจจุบันช่องสยามกีฬาทีวีได้เปลี่ยนชื่อเป็น สยามสปอร์ตนิวส์ พร้อมกับเปลี่ยนช่องออกอากาศมาเป็นหมายเลข 693

สตาร์ซอคเก้อร์ทีวี

สตาร์ซอคเก้อร์ทีวี เป็นช่องโทรทัศน์เคเบิล ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับฟุตบอลต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง แห่งแรกในประเทศไทย เริ่มออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ทางช่องดีทีวี 51 (ต่อมาย้ายไปออกอากาศ ทางทรูวิชันส์ช่อง 75 และตั้งแต่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ย้ายไปออกอากาศทางช่อง 115 จนถึงการออกอากาศช่องนี้เป็นวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556) มีโอฬาร เชื้อบาง เป็นผู้อำนวยการสถานีฯ นำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหว บทวิเคราะห์วิจารณ์การแข่งขัน แถมยังได้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรแห่งทวีปอเมริกาใต้ โคปา ลิเบอร์ตาดอเรส และรายงานสดการแข่งขันฟุตบอลลีกยุโรป รายการวาไรตี้ฟุตบอล ตลอดจนสกู๊ปฟุตบอลรอบโลก โดยทีมคอลัมนิสต์และผู้สื่อข่าว ของหนังสือพิมพ์สตาร์ซอคเก้อร์รายวัน, สปอร์ตพูลรายวัน, สปอร์ตแมนรายวัน และฟุตบอลพูลฉบับตลาดลูกหนัง ส่วนรายการโทรทัศน์ที่สำคัญเช่น เคาะบอลเมืองผู้ดี, ห้องข่าวจากลอนดอน, ห้องข่าวจากสเปน, ซอคเก้อร์วาไรตี้, ทีเด็ดบอลดัง, หงส์ปากดี ผีปากกล้า, คลับเรดเดวิล, หงส์ข้าใครอย่าแตะ, โฟร์เมเนีย เป็นต้น[5]

ฟุตบอลสยามทีวี

ฟุตบอลสยามทีวี เป็นช่องโทรทัศน์เคเบิล ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับฟุตบอลในประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง แห่งแรกในประเทศไทย เริ่มออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ทางช่องดีทีวี 50 (ต่อมาย้ายไปออกอากาศ ทางทรูวิชันส์ช่อง 74 และตั้งแต่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ย้ายไปออกอากาศทางช่อง 114 จนถึงการออกอากาศช่องนี้เป็นวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556) มีสมฤกษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นผู้อำนวยการสถานีฯ นำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหว บทวิเคราะห์วิจารณ์การแข่งขัน ถ่ายทอดสดและรายงานสดการแข่งขัน สกู๊ปฟุตบอลไทย เป็นต้น โดยทีมคอลัมนิสต์และผู้สื่อข่าว ของนิตยสารฟุตบอลสยามรายสัปดาห์ และหน้าข่าวฟุตบอลสยามในหนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวัน[6] ทั้งนี้ ฟุตบอลสยามทีวี นับเป็นช่องโทรทัศน์หลัก ซึ่งถ่ายทอดสดการแข่งขัน ฟุตบอลไทยลีกดิวิชั่น 1 , ฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 , ฟุตบอลไทยคมเอฟเอคัพ และฟุตบอลโตโยต้าลีกคัพ เป็นจำนวนนัดมากที่สุดตลอดฤดูกาลด้วย[ต้องการอ้างอิง]

สยามสปอร์ตแชนเนล

ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 สยามสปอร์ตเทเลวิชัน เริ่มการปรับปรุงทั้งสามช่องรายการครั้งใหญ่ ทั้งในเชิงแนวทางการนำเสนอ รูปแบบเนื้อหา และผังรายการใหม่ ตลอดจนพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือ ที่ใช้ในการออกอากาศให้ทันสมัยมากขึ้น เพิ่มจำนวนรถถ่ายทอดโทรทัศน์นอกสถานที่ โดยมุ่งเน้นกลุ่มคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่เป็นเป้าหมายหลัก พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อช่องรายการให้สอดรับกัน และให้มีชื่อเรียกรวมกันว่า สยามสปอร์ต แชนเนล (Siamsport Channel)[7] ซึ่งประกอบด้วย

  • สยามสปอร์ต นิวส์ (Siamsport News) นำเสนอข่าวสารและสาระบันเทิง พร้อมทั้งรายงานสดข่าวด่วน ทันเหตุการณ์ จากขอบสนามถึงหน้าจอโทรทัศน์ โดยคณะผู้สื่อข่าวมืออาชีพ ผู้มีความรู้และมีชื่อเสียงทางกีฬาทุกประเภท ออกอากาศแทนฟุตบอลสยามทีวี[7] และช่องดังกล่าวได้สิ้นสุดสัญญาการออกอากาศหรือยุติการออกอากาศช่องไปเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา
  • สยามสปอร์ต ฟุตบอล (Siamsport Football) นำเสนอข่าวสารกีฬาฟุตบอล ทั้งของไทยและต่างประเทศ พร้อมบทวิเคราะห์วิจารณ์ จากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในเชิงลูกหนัง พร้อมทั้งการถ่ายทอดสด ฟุตบอลลีกอาชีพของไทยในทุกรายการ ออกอากาศแทนสตาร์ซอคเก้อร์ทีวี[7] และช่องดังกล่าวได้สิ้นสุดสัญญาการออกอากาศหรือยุติการออกอากาศช่องไปเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา
  • สยามสปอร์ต ไลฟว์ (Siamsport Live) นำเสนอไฮไลต์กีฬาต่างประเทศหลายชนิด เกาะติดสถานการณ์เบื้องหน้าเบื้องหลัง ของการแข่งขันกีฬาที่สำคัญ พร้อมทั้งการถ่ายทอดสด การแข่งขันกีฬาหลายรายการ ออกอากาศแทนสยามกีฬาทีวี[7] ทว่ายุติการออกอากาศลงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 โดยหมายเลขช่องเดิมทางทรูวิชันส์ นำช่องทีสปอร์ตสแชนเนลมาออกอากาศแทน

ใกล้เคียง

สยามสแควร์ สยามสปอร์ตซินดิเคท สยามสแควร์ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2560) สยามสปอร์ตเทเลวิชัน สยามสแควร์วัน สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ สยามสแควร์ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2527) สยามสแควร์ (แก้ความกำกวม) สยามสหบริการ สยาม สังวริบุตร

แหล่งที่มา

WikiPedia: สยามสปอร์ตเทเลวิชัน http://www.companyinthailand.com/company_detail.ph... http://www.companyinthailand.com/company_detail.ph... http://www.forwardsat.com/index.php?lay=boardshow&... http://www.sportradiothai.com/news/news.php?id_new... http://www.thaileagueonline.com/news-1853-%E0%B8%9... http://sstv.siamsport.co.th http://www.siamsport.co.th http://www.siamsport.co.th/othersports/view.php?co... http://www.siamsport.co.th/pr/history.html https://www.wikidata.org/wiki/Q13022304?uselang=th...