เหตุการณ์สำคัญ ของ สยามอะเมซิ่งพาร์ค

พ.ศ. 2528 เคยใช้เป็นสถานที่จัดการประกวดนางสาวไทยรอบตัดสิน

พ.ศ. 2550 เกิดอุบัติเหตุกับเครื่องเล่น อินเดียน่าล็อก เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ทำให้มีผู้เสียชีวิต และ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2551 เกิดเหตุกับซูเปอร์สไปรัล ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 28 ราย ทางเจ้าของจึงประกาศขายกิจการแต่มีหลายฝ่ายให้กำลังใจและขอร้องอย่าขายเจ้าของจึงตัดสินใจบริหาร สวนสยามต่อไป[2]

พ.ศ. 2552 เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552 ที่สยามพาร์คซิตี้ สวนสยาม กินเนสส์ เวิลด์ เร็คคอร์ด ร่วมกับสมาคมสวนน้ำโลก มอบรางวัลหนังสือรับรอง "ทะเลเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก" ให้แก่ ทะเล-กรุงเทพฯ สวนสยาม โดยมีนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นประธานรับมอบ นายไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ที่ปรึกษาบริษัท สยามพาร์คซิตี้ จำกัด กล่าวว่า ดีใจที่สุด 29 ปีที่ผ่านมาหายเหนื่อยแล้ว ด้านนายทาลาล โอมาร์ ผู้แทนจากกินเนสส์ เวิลด์ เร็คคอร์ด กล่าวว่า แต่ละสัปดาห์มีผู้เสนอเรื่องราวให้บันทึกสถิติโลกถึง 1 พันรายการ รางวัลนี้เป็นแนวความคิดสร้างสรรค์ที่ทะเลเทียมของไทยใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้ ทะเล-กรุงเทพฯ สวนสยาม มีขนาด 13,600 ตร.ม. รองรับผู้ใช้บริการได้พร้อมกัน 13,000 คน ส่วนเจ้าของสถิติทะเลเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลกเดิมคือ ดีโน่ พาร์ค นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน มีขนาด 6,053 ตร.ม. รองลงมาคือ สวนน้ำดิสนีย์ เมืองออร์ลันโด ฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ขนาด 4,220 ตร.ม.[3]

พ.ศ. 2553 วันที่ 19 พฤศจิกายน - 19 ธันวาคม 2553 สยามพาร์คซิตี้ สวนสยาม ได้ จัดงานฉลองครบรอบเปิดกิจการ 30 ปี จัดโปรโมชั่นพิเศษ ซื้อบัตร ครั้งเดียวเที่ยวฟรีตลอดวัน ผู้ใหญ่ 300 บาท เด็ก 100 บาท [4]นับว่าเป็นสวนสนุกและสวนน้ำที่มีอายุมากที่สุดในประเทศไทยที่เปิดดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2562 สวนสยามประกาศปิดปรับปรุงใหญ่บางส่วน พร้อมกับเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น สยามอะเมซิ่งพาร์ก ภายใต้การบริหารของทายาทรุ่นที่สองคือ สิทธิศักดิ์ เหลืองอมรเลิศ, วุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ และจิรวรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา โดยมีการปรับภาพลักษณ์ให้ดูทันสมัยและสดใสมากขึ้น มีการปรับปรุงเครื่องเล่นให้ใช้งานได้ตามปกติ ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรวมของโครงการ และก่อสร้างส่วนขยายบริเวณด้านหน้าโครงการ ภายใต้การควบคุมและดูแลของ Spikeband บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลกที่เป็นผู้พัฒนาสวนสนุกโตเกียวดิสนีย์แลนด์ ที่ประเทศญี่ปุ่น[5] และยังเป็นการปรับปรุงเพื่อรองรับการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีชมพู และรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยการปรับปรุงจะแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2564 พร้อม ๆ กับการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีชมพู[6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สยามอะเมซิ่งพาร์ค http://www.bangkokbiznews.com/2008/01/14/WW10_WW10... http://maps.google.com/maps?ll=13.805242,100.69722... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.8052... http://www.siamamazingpark.com http://www.siamparkcity.com http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.globalguide.org?lat=13.805242&long=100.... http://www.wikimapia.org/maps?ll=13.805242,100.697... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016...