การทำงาน ของ สรชา_วีรชาติวัฒนา

สรชา วีรชาติวัฒนา เข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เขตเลือกตั้งที่ 2 ได้คะแนน 12,945 คะแนน เป็นลำดับที่ 3 รองจาก ประเสริฐ เด่นนภาลัย จากพรรคไทยรักไทย และกิตติ ยงศ์สงวนชัย จากพรรคมหาชน

ต่อมาในปี 2550 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดสมุทรปราการในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เขตเลือกตั้งที่ 1 ซึ่งเป็นการสมัครแบบเขตเดียว 3 คน เธอได้รับคะแนนมาเป็นลำดับที่ 5 ได้ 71,428 คะแนน ต่อมา สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ จากพรรคเพื่อไทย ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองจากการยุบพรรค จึงจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 เธอจึงได้รับเลือกตั้ง[1]สมัยแรก และเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ในรอบกว่า 20 ปี (ก่อนหน้านั้นคือ ณัฐ ศรีเฟื่องฟุ้ง พ.ศ. 2529) แต่ต่อมาถูก กกต. ให้ใบแดง[2][3][4]

ในปี 2554 เธอลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 ได้คะแนน 35,512 คะแนน แต่แพ้ให้กับคู่แข่งเดิม คือ ประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย จากพรรคเพื่อไทย และในปี 2562 เธอก็ยังคงลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ในปี 2563 เธอให้การสนับสนุน อำนวย รัศมิทัต ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ใกล้เคียง

สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม สรชา วีรชาติวัฒนา สมชาย วงศ์สวัสดิ์ สมชาย เข็มกลัด สโรชา จันทร์กิมฮะ สุชาร์ มานะยิ่ง สโรชา วาทิตตพันธ์ สโรชา วิริยะเมตตากุล สุชาติ ชมกลิ่น สุชาดา (ธิดาของเสนานีกุฎุมพี)