เทคนิคการไขปริศนา ของ สลิเทอร์ลิงก์

เมื่อใดก็ตามที่จำนวนเส้นรอบช่องสี่เหลี่ยม มีเส้นล้อมรอบครบตามจำนวนที่ระบุไว้ในช่อง ช่องว่างที่เหลือสามารถทำเครื่องหมายเล็กๆ เช่นกากบาท เพื่อบ่งบอกว่าจะไม่มีเส้นอื่นผ่านทางนี้อีก อย่างไรก็ตาม วิธีของการลากเส้นล้อมรอบช่องหนึ่งๆ อาจมีได้หลายวิธี มีเพียงบางกรณีที่สามารถระบุลงไปได้ว่ามีกรณีเดียวโดยพิจารณาจากเส้นหรือตัวเลขที่อยู่ข้างเคียงประกอบ ซึ่งสามารถแจกแจงได้ดังนี้

  • ช่องเลข "0" – ทั้งสี่ด้านของช่องนี้สามารถกากบาททิ้งไปได้ทันที เนื่องจากจะไม่มีเส้นใดที่ลากผ่านช่องนี้
  • ช่องเลข "1" ที่มุม – สองด้านที่ชิดมุมปริศนาสามารถกากบาททิ้งไปได้ เนื่องจากเส้นที่ลากเข้าไปจะต้องลากออกมาอีกทางหนึ่ง ซึ่งทำให้จำนวนเส้นที่ล้อมรอบช่องนั้นเป็นสองเส้น ไม่ใช่หนึ่งเส้น ดังรูปที่ 1
  • ช่องเลข "3" สองช่องที่ติดกันในแนวตั้งหรือแนวนอน – สำหรับกรณีนี้จะมีเส้นตรงที่ล้อมรอบทั้งสองช่องเป็นรูปตัว S หรือ Z เพียงสองกรณี ดังนั้นเราสามารถบอกได้ว่าจะมีเส้นตรงสามเส้นที่ลากผ่านส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่างเสมอ (หรือส่วนซ้าย กลาง ขวา) นอกจากนั้นทั้งสองข้างของส่วนกลางจะไม่สามารถลากเส้นอื่นต่อไปได้ สามารถใส่กากบาทลงไปได้เลย ดังรูปที่ 2
  • ช่องเลข "3" สองช่องที่ติดกันในแนวทแยง – ความเป็นได้ของการลากเส้นผ่านมีได้สี่กรณีคือ รูปตัว S, Z, E, 3 อย่างไรก็ตามที่ขอบด้านนอกของเลข "3" จะต้องมีเส้นลากผ่านเสมอทุกกรณี ดังรูปที่ 3
  • ช่องเลข "3" สองช่องที่เรียงกันโดยมีช่องเลข "2" คั่นกลางในแนวทแยง – คล้ายกับกรณีก่อนหน้า คือจะต้องมีขอบด้านนอกของเลข "3" เสมอ ไม่ว่าจะมีเลข "2" มาคั่นกลางกี่ตัวก็ตาม (ต้องเป็นเลข "2" ล้วนเท่านั้น)
  • เส้นที่เชื่อมเข้ามายังช่องเลข "3" – ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับจุดที่เชื่อมจะต้องมีเส้นเสมอ เนื่องจากด้านที่ไม่มีเส้นของช่องเลข "3" จะต้องอยู่ติดกับจุดที่เชื่อมทางใดทางหนึ่งโดยมีความเป็นไปได้เพียงสองกรณี ดังรูปที่ 4
  • เส้นที่เชื่อมเข้ามายังช่องเลข "2" และมีด้านตรงข้ามด้านหนึ่งเป็นกากบาท – ด้านตรงข้ามที่เหลืออีกด้านจะต้องเป็นเส้นตรงเสมอ ดังรูปที่ 5
  • เส้นที่เชื่อมเข้ามายังช่องเลข "1" และมีกากบาทที่จุดเชื่อม – เส้นที่ลากเข้ามาจะเลี้ยวไปทางอื่นไม่ได้ จำเป็นต้องลากเข้ามายังช่องเลข "1" เพียงด้านเดียว ดังนั้นเส้นตรงจะไม่ถูกลากผ่านด้านตรงข้ามอย่างแน่นอน ดังรูปที่ 6
  • ช่องเลข "1" ที่มุม
  • ช่องเลข "3" สองช่องที่ติดกันในแนวตั้งหรือแนวนอน
  • ช่องเลข "3" สองช่องที่ติดกันในแนวทแยง
  • เส้นที่เชื่อมเข้ามายังช่องเลข "3"
  • เส้นที่เชื่อมเข้ามายังช่องเลข "2" และมีด้านตรงข้ามด้านหนึ่งเป็นกากบาท