ขบวนการสวนสาธารณะของประเทศไทย ของ สวนสาธารณะ

ประเทศไทยก็มี "ขบวนการสวนสาธารณะ" เช่นกัน แต่มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนประเทศอื่นใดในโลก คือเกิดด้วยพระราชดำริและพระบารมีของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2516 เวลาประมาณ 9.40 น. ท่ามกลางเรียงเรียกร้องหาสวนสาธารณะที่ไร้ผลของสาธารณชน หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ได้โทรศัพท์แจ้งการรถไฟแห่งประเทศไทยความว่า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า พระองค์มีพระราชทรัพย์อยู่จำนวน 1,000,000 บาท มีพระราชประสงค์จะสร้างสวนสาธารณะสักแห่งในบริเวณกรุงเทพมหานคร เพื่อประชาชนได้ใช้เป็นที่พักผ่อนในยามว่าง ทรงเห็นว่าการรถไฟมีพื้นที่มาก เช่น ย่านพหลโยธิน จึงใคร่ขอให้การรถไฟฯ ได้พิจารณาและให้ความร่วมมือในด้านนี้ด้วย

การรถไฟฯ จึงได้จัดที่ดินจำนวน 93 ไร่ที่ใช้ทำเป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟอยู่แล้วจัดสร้างสวน ซึ่งต่อมาคือสวนจตุจักรที่เทศบาลนครหลวงและการรถไฟฯ ร่วมกันสร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระพระชนมายุครบ 4 รอบ ซึ่งต่อมามีการขยายพื้นที่เพิ่มอีก 100 ไร่ ในสมัยท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติสิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร

ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า สวนจตุจักรคือจุดเริ่มของขบวนการสวนสาธารณะสมัยใหม่ของประเทศไทยและเกิดจากพระราชดำริ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจให้มีการสร้างสวนสาธารณะอีกมากมายหลายแห่งทั่วประเทศเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนอย่างแท้จริงในเวลาต่อมา

ในปี พ.ศ. 2523 มีการเริ่มทยอยสร้างสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ตามเขตการศึกษาต่างๆ 12 แห่งโดยเริ่มต้นที่จังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนี้ยังมีหน่วยของรัฐและท้องถิ่นรวมทั้งองค์กรเอกชนต่างร่วมมือร่วมใจกันสร้างสวนสาธารณะและสวนสุขภาพมากมายทั่วประเทศเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จย่าฯ ในวาระพระชนมายุครบ 80 พรรษา

สวนหลวง ร.๙ มองไปยังอาคารเทอดพระเกียรติ

ในวาระมหามงคลพระชนมายุ 60 พรรษาของทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (2530) และสมเด็จพระบรมราชินีนารถ (2535) ก็ได้มีการสร้างสวนสาธารณะที่สำคัญและสวยงามอีกหลายแห่ง เช่น สวนหลวง ร.9 อุทยานเบญจสิริ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ สวนรมณีนาถ สวนเบญจกิติ (บึงยาสูบ) สวนสันติชัยปราการ สวนวชิรเบญจทัศ รวมทั้งสวนภัทรมหาราชินีที่จังหวัดสุพรรณบุรี และในวาระครบรอบ 72 พรรษา (พ.ศ. 2542) ก็ได้มีการสร้างสวนสาธารณะอีกเพื่อเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบเป็นจำนวนมาก เช่น ที่เชิงสะพานพระราม 9 ฝั่งพระนครและในที่อื่นๆ หลายแห่ง รวมทั้งสวนสาธารณะเชิงสะพานพระราม 8 ทั้งนี้ยังไม่นับถึงต่างจังหวัดที่ทั้งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระต่างๆ รวมแล้วน่ามีสวนสาธารณะทั้งเล็กและใหญ่รวมทั้งสวนสุขภาพที่สืบเนื่องจากพระราชดำริทั่วประเทศซึ่งน่าจะมากกว่า 100 แห่ง

ใกล้เคียง

สวนสาธารณะ สวนสาธารณะหาดริมน้ำน่านหมู่บ้านคุ้งตะเภา สวนสาธารณะเซนต์เจมส์ สวนสาธารณะแฮนค็อก สวนสาธารณะคลองช่องนนทรี สวนสาธารณะมิลเอนส์ สวนสาธารณะโอโดริ สวนสาธารณะพญาแถน สวนสาธารณะพรินส์ (เบินต์วูด) สวนสาธารณะหนองกระทิง