สวัสดิการสังคมในประเทศเยอรมนี

การประกันสังคมในประเทศเยอรมนี[1]การประกันสังคมเป็นแก่นสำคัญของระบบสังคมสงเคราะห์ทุกวันนี้ลูกจ้างจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายในกรณีการจ่ายเงินประกันบำนาญ ได้มาจากการบำรุงของนายจ้าง ลูกจ้างและรัฐช่วยออกสะสมส่วนหนึ่ง อัตราเงินบำนาญขึ้นอยู่กับเงินรายได้หรือขึ้นอยู่กับเบี้ยประกันที่ชำระไป ข้ารัฐการรวมทั้งผู้พิพากษาและทหารมืออาชีพรับเงินบำนาญ ตามที่กฎหมายข้ารัฐการของหน่วยงานตนกำหนดในกรณีที่มีการเจ็บป่วย ลูกจ้างทุกคนมีสิทธิได้รับค่าแรงงานเต็มอัตราเป็นเวลา 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นบริษัทประกันเจ็บป่วยจะจ่ายเงินค่าป่วยไข้ให้อีกทั้ง 72 สัปดาห์ บริษัทประกันเจ็บป่วยนี้ต้องรับภาระค่ารักษาโรคทั่วไป ค่ารักษาโรคฟัน ค่ายาและค่าโรงพยาบาลในกรณีที่มีอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานนั้น และเกิดโรคภัยจากการทำงานอาชีพ ลูกจ้างจะได้รับเงินประกันอุบัติเหตุ นายจ้างจะเป็นผู้จ่ายเงินเบี้ยประกันอุบัติเหตุตามลำพังฝ่ายเดียว บำนาญที่จ่ายเนื่องจากอุบัติเหตุจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก็จะได้รับการจ่ายให้เป็นรายปี ซึ่งจะผกผันไปตามกฎหมายการพัฒนาค่าแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 1971 การประกันอุบัติเหตุตามกฎหมายได้ขยายรวมถึงนิสิต นักศึกษา นักเรียน และเด็กๆในโรงเรียนอนุบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันเป็นประเทศแรกที่ประสบความสำเร็จในการจัดหลักประกันด้านสังคมและสุขภาพให้แก่ประชาชนด้วยระบบประกันสังคมหรือประกันภาคบังคับ[2] ปรัชญาและหลักการพื้นฐานสำคัญของระบบการเมืองเยอรมันคือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในสังคม (Solidarity) การกระจายอำนาจและบทบาทหน้าที่ระหว่างหน่วยงานรัฐ (ส่วนกลาง ภูมิภาค) และเอกชน (Subsidiarity) เป็นพื้นฐานการพัฒนาองค์กรทางสังคมจากล่างขึ้นบน กระจายอำนาจในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้กับหน่วยงานท้องถิ่นหรือภาคเอกชนในการดำเนินการ และแนวคิดหลักที่สามคือ การมีองค์กรร่วม (Corporatist organization) ที่จะมีตัวแทนทั้งสองประเภทคือทั้งจากตัวแทนวิชาชีพ และตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้ง ในระบบสุขภาพเองก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานดังกล่าว ระบบบริการสุขภาพของเยอรมันนั้น ภาครัฐมีบทบาทหลักในการสร้างกรอบกฎหมายในการควบคุมกำกับ ในขณะที่การดำเนินงานนั้นกระจายให้องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรเป็นผู้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะเป็นกองทุนการเจ็บป่วย และการจัดบริการ ทั้งนี้จะมีการกำกับกันและปฏิสัมพันธ์กันผ่านทางองค์กรที่เป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่ม เช่น สมาคมกองทุนการเจ็บป่วย (Association of Sickness funds) สมาคมแพทย์ (Association of Panel Doctors) ฯลฯการปฏิรูปในเยอรมันนั้นมุ่งเน้นการให้ประโยชน์กับประชาชนและสังคมโดยรวมเป็นที่ตั้ง การกำหนดให้มีกฎหมายประกันสุขภาพทำให้ประชาชนกลุ่มต่างๆได้รับหลักประกันด้านสุขภาพแบบทั่วหน้า ในขณะที่การกำหนดความสัมพันธ์ขององค์กรต่างๆในสังคมก็เพื่อเป็นการคานอำนาจและการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ทำให้ระบบโปร่งใสขึ้น การปฏิรูปช่วงหลังที่มุ่งเน้นการควบคุมรายจ่ายนั้นก็เป็นความพยายามในการควบคุมพฤติกรรมของผู้ให้บริการและโรงพยาบาลเป็นหลัก เพื่อควบคุมไม่ให้รายจ่ายด้านสุขภาพนั้นเพิ่มมากว่ารายได้ของประชาชน กล่าวโดยสรุปความสำเร็จของการปฏิรูประบบสุขภาพของเยอรมันนั้นเกิดจาก ปรัชญาและหลักการพื้นฐานของสังคม เป็นหลัก ในขณะที่บริบทด้านการเมือง ภาวะเศรษฐกิจ อิทธิพลของกลุ่มต่างๆ และภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพนั้นเป็นแรงผลักดันสำคัญของการปฏิรูป

ใกล้เคียง

สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ สวัสดี สวัสดิ์ มักการุณ สวัสดิ์ คำประกอบ สวัสติกะ สวัสดีคุณครู สวัสดิ์ โชติพานิช สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ สวัสดิ์ วัฒนายากร สวัสดิ์ ตันติสุข