สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า
สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า

สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า

สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า ออกแบบเป็นสะพานคอนกรีตอยู่ด้านเหนือน้ำของสะพานพระนั่งเกล้า มีขนาด 6 ช่องจราจร เชื่อมต่อกับช่องทางหลักของถนนรัตนาธิเบศร์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302) โดยช่องทางคู่ขนานใช้สะพานเก่า มีความยาวตลอดช่วงสะพานถึง 2 กิโลเมตร ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและถนนนนทบุรี 1 ความยาวช่วงกลางแม่น้ำของ 2 ตอม่อในแม่น้ำคือ 229 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นสะพานคอนกรีตรูปกล่องที่ก่อสร้างด้วยวิธีคานยื่นสมดุล (balanced cantilever) ที่มีช่วงกลางแม่น้ำยาวที่สุดในประเทศไทย สูงกว่าสะพานเดิม 9 เมตร คร่อมสะพานเดิมบริเวณทางลาดลงเล็กน้อย เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 แล้วเสร็จเปิดการจราจรตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 [1]

สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า

ข้าม แม่น้ำเจ้าพระยา
ประเภท คานยื่นสมดุล
ท้ายน้ำ สะพานพระนั่งเกล้า
ความกว้าง 24.99 เมตร
เจ้าของ กรมทางหลวง
วันเปิด 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
วันเริ่มสร้าง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ความยาว 299.10 เมตร
ความสูง 16.40 เมตร
เส้นทาง ถนนรัตนาธิเบศร์
ชื่อทางการ สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า
เหนือน้ำ สะพานพระราม 4

ใกล้เคียง

สะพาน สะพานโกลเดนเกต สะพานข้ามแม่น้ำแคว สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 สะพานภูมิพล สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์) สะพานพระราม 8 สะพานข้ามอ่าวซานฟรานซิสโก–โอกแลนด์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า สะพานข้ามแม่น้ำแคว (ภาพยนตร์)

แหล่งที่มา

WikiPedia: สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า http://maps.google.com/maps?ll=13.871497,100.47621... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.8714... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.thaicontractors.com/content/cmenu/1/47/... http://www.globalguide.org?lat=13.871497&long=100.... http://www.wikimapia.org/maps?ll=13.871497,100.476... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...