สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (อังกฤษ: Somdet Phra Pinklao Bridge) หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานปิ่นเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าระหว่างเขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับเขตบางกอกน้อย (ฝั่งธนบุรี) กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบทสะพานพระปิ่นเกล้าเป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 26.60 เมตร ความยาว 622 เมตร สร้างขึ้นเพื่อผ่อนคลายความคับคั่งของการจราจร โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในการสำรวจออกแบบสะพาน และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลไทย โดยให้เงินกู้สมทบกับเงินงบประมาณของรัฐบาลไทย เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 และสร้างเสร็จทำพิธีเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยได้รับพระราชทานนามว่า "สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพื้นที่ของสะพานทางฝั่งพระนครนั้นเคยเป็นเขตของพระราชวังบวรสถานมงคล

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

ข้าม แม่น้ำเจ้าพระยา
ประเภท สะพานชนิดต่อเนื่อง
ท้ายน้ำ สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์
ช่วงยาวที่สุด 110.00 เมตร
ความกว้าง 26.60 เมตร
เจ้าของ กรมทางหลวงชนบท
วันเปิด 24 กันยายน พ.ศ. 2516
ความยาว 280.00 เมตร
วันเริ่มสร้าง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514
ความสูง 11.50 เมตร
เส้นทาง ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ชื่อทางการ สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ที่ตั้ง เขตพระนคร, เขตบางกอกน้อย
จำนวนช่วง 3
เหนือน้ำ สะพานพระราม 8
วัสดุ คอนกรีตอัดแรง

ใกล้เคียง

สะพาน สะพานโกลเดนเกต สะพานข้ามแม่น้ำแคว สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 สะพานภูมิพล สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์) สะพานพระราม 8 สะพานข้ามอ่าวซานฟรานซิสโก–โอกแลนด์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า สะพานข้ามแม่น้ำแคว (ภาพยนตร์)