เหตุการณ์การพังทลาย ของ สะพานเกิ่นเทอ

ชิ้นส่วนที่เหลือของสะพานเกิ่นเทอวันที่ 10 หลังเหตุการณ์พังทลาย (ภาพวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550)

ทางลาดความยาว 90 เมตรของสะพานเกิ่นเทอพังลงระหว่างการก่อสร้างในเช้าวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550 ทรุดลงจากความสูง 30 เมตร[5] ส่วนที่ยุบอยู่เหนือเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในแนวสะพานฝั่งเมืองหวิญล็อง[6] มีวิศวกรและคนงาน 250 คนกำลังทำงานอยู่ในช่วงเวลานั้น[7] มีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ 54 ราย บาดเจ็บสาหัส 80 ราย[8] เจิ่น จุ๋ง (Trần Chủng) หัวหน้าหน่วยงานควบคุมคุณภาพการก่อสร้างแห่งชาติภายใต้กระทรวงการก่อสร้าง ระบุว่านี่เป็นภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมการก่อสร้างของเวียดนาม[9]

ภายหลังเหตุการณ์

การไต่สวนสาเหตุของการพังทลายใช้เวลาสอบสวน 8 เดือน ในขั้นต้นพบว่าเสาชั่วคราวที่ใช้กระจายน้ำหนักนั้นมีขนาดต่ำกว่าที่กำหนดโดยประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยการมีระยะเผื่อที่น้อย ส่วนสาเหตุที่แท้จริงคือการสร้างเสาชั่วคราวบางส่วนวางบนพื้นทรายอ่อนซึ่งทรุดตัวไม่สม่ำเสมอและทำให้เสาเอียง[8] ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลเวียดนามได้สั่งห้าม บริษัทก่อสร้าง Taisei และ Kajima จากการดำเนินงานในเวียดนามเป็นเวลาหนึ่งปี โดยกล่าวโทษบริษัทญี่ปุ่นทั้งสองแห่งว่า ไม่สามารถสร้างส่วนรองรับสะพานที่ปลอดภัยได้[10]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: สะพานเกิ่นเทอ http://www.khl.com/magazines/international-constru... http://www.taipeitimes.com/News/world/archives/200... http://au.news.yahoo.com/070927/3/14jcw.html http://en.structurae.de/structures/data/index.cfm?... http://vnpress.org/detail_11556_Inauguration-of-Ca... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.saigontimes.com.vn/daily/detail.asp?muc... http://www.sggp.org.vn/xahoi/2007/9/122629/ http://english.vietnamnet.vn/biz/2005/10/496049/ http://english.vietnamnet.vn/social/2007/09/745061...