สะพานไครเมีย
สะพานไครเมีย

สะพานไครเมีย

สะพานไครเมีย (รัสเซีย: Крымский мост) หรือ สะพานเคียร์ช (Керченский мост)[8] หรือบางครั้งเรียกว่า สะพานช่องแคบเคียร์ช เป็นสะพานคู่ขนานที่สร้างขึ้นโดยรัสเซีย เพื่อขยายช่องแคบเคียร์ชระหว่างคาบสมุทรตามันกับดินแดนครัสโนดาร์ (รัสเซีย) และคาบสมุทรเคียร์ชของแหลมไครเมีย (ถูกผนวกเข้ากับรัสเซีย แต่ตามสากลถือว่าเป็นของยูเครน) สะพานแห่งนี้มีทั้งทางสัญจรของยานพาหนะและของรถไฟ ด้วยความยาวที่ 18.1 km (11.2 mi) ทำให้สะพานแห่งนี้ยาวที่สุดในรัสเซีย[9] และในยุโรป[10][11][12][9][13]สะพานแห่งนี้มีการวางแผนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2446 จนถึงปี พ.ศ. 2557 หลังจากการผนวกคาบสมุทรไครเมีย ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ได้มีการมอบสัมปทานของสะพานมูลค่ากว่าพันล้านให้กับบริษัทสตรอยกัซมอนตัจ ซึ่งดูแลโดยอาร์คาดี โรเตนเบียร์ก สะพานเริ่มสร้างเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ปัจจุบันได้เปิดใช้สะพานฝั่งสัญจรของยานพาหนะอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2561[6] และคาดว่าจะเปิดใช้สะพานสำหรับรถไฟอย่างเป็นทางการต้นปี พ.ศ. 2562[14]ชื่อสะพานที่ชื่อว่า "สะพานไครเมีย" ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดจากการลงคะแนนทางอินเทอร์เน็ตในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งรองลงมาคือชื่อสะพานว่า "สะพานช่องแคบเคียร์ช" และชื่อสะพานว่า "สะพานเอกภาพ" ตามลำดับ[15]

สะพานไครเมีย

Construction cost 227,92 พันล้านรูเบิล [5]
Owner รัฐบาลรัสเซีย[1]
ประเภท สะพานรถยนต์สัญจรและรถไฟ
ข้าม ช่องแคบเคียร์ช
ท้ายน้ำ Yavuz Sultan Selim Bridge
ช่วงยาวที่สุด 227 เมตร (745 ฟุต)[3]
Website http://www.most.life
การจราจรโดยเฉลี่ย มากกว่า 4 หมื่นคันต่อวัน [4]
Replaces Kerch railroad bridge [ru] (1944-1945),
Kerch Strait ferry line (1953-)
วันเปิด 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2561[6]
Water depth Up to 94 m (308 ft)[2]
ความยาว ระยะทางรางรถไฟ: 18.1 km (11.2 mi)
ระยะทางถนน: 16.9 km (10.5 mi)
Constructed by บริษัทสตรอยกัซมอนตัจ
เส้นทาง สี่ช่องทางจราจรของทางหลวง A290
Double-track Bagerovo-Vyshestebliyevskaya railroad line [ru]
ชื่อทางการ Крымский мост
ค่าผ่าน ไม่เก็บค่าผ่านทาง[7]
ที่ตั้ง เคียร์ช, ไครเมีย และตามัน, รัสเซีย
เคลียร์ตอนล่าง 35 เมตร [4]

ใกล้เคียง

สะพาน สะพานโกลเดนเกต สะพานทศมราชัน สะพานข้ามแม่น้ำแคว สะพานภูมิพล สะพานข้ามอ่าวซานฟรานซิสโก–โอกแลนด์ สะพานพระราม 9 สะพานข้ามแม่น้ำแคว (ภาพยนตร์) สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์) สะพานพระราม 8