โครงสร้างสะล้อ ของ สะล้อ

โครงสร้างของสะล้อ เรียงจากบนไปล่าง

ส่วนประกอบของสะล้อ
  • หัวสะล้อ มีการกลึงเป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น ทรงน้ำต้น ทรงดาบสะหรีกัญไชย ฯลฯ
  • ช่วงลูกบิด เป็นช่วงที่ยึดลูกบิดเข้ากับตัวสะล้อ
  • ลูกบิด มีหน้าที่ปรับเสียงของสะล้อ
  • รัดอก ไว้รวบสายสะล้อจากลูกบิดให้ใกล้กัน เพื่อให้อำนวยต่อการเล่น
  • ลำตัว ช่วงที่มีไว้ให้มือซ้ายสำหรับกดลงบนสาย เพื่อเล่นเป็นโน้ตต่างๆ
  • สายสะล้อ เป็นสายชนิดเดียวกับสายกีตาร์ มี 2 สายหรือ 3 สาย
  • กะโหลกสะล้อ(กะโหล้ง) เพื่อเป็นทางออกของเสียง
  • หย่อง(ก๊อบสะล้อ) อยู่ชิดกับตาดสะล้อ(อาศัยแรงฝึดและแรงกดจากสายที่ขึงผ่าน)เป็นตัวพาดสายผ่านเพื่อรับการสั่นสะเทือนของสายให้มีเสียง
  • ตาดสะล้อ เป็นไม้แผ่นบางๆ ที่ปิดกะโหลกซอ เป็นตัวรับการสั่นสะเทือนจากสายที่ผ่านหย่อง ทำให้เกิดเป็นเสียงขึ้น
  • ขาสะล้อ เป็นตัวรับน้ำหนักสะล้อและน้ำหนักมือของผู้เล่น
  • คันชัก(ก๋งสะล้อ) เป็นตัวสีทำให้สายสั่นสะเทือนเพื่อให้เกิดเสียงได้
  • สายหางม้า(สายก๋ง) สมัยก่อนใช้หางม้า แต่ปัจจุบันใช้นิยมไนลอน สัมผัสกับสายสะล้อเวลาสีเพื่อให้เกิดเสียง ต้องใช้ยางสนถูเพื่อให้เกิดความฝึดก่อน

ขนาดของสะล้อ คือ

 สะล้อใหญ่

 สะล้อกลาง

 สะล้อเล็ก