สะอึก

อาการสะอึก เป็นการหดตัวนอกอำนาจจิตใจของกะบังลม ทำให้กะบังลมหดตัวอย่างแรงราว 0.25 วินาที เสียง "ฮึก" ที่เกิดขึ้นระหว่างการสะอึกเกิดจากการปิดของเส้นเสียง[1] การสะอึกอาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยมีระยะเวลาห่างกันคงที่อาการสะอึกเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีอากาศในท้องเยอะเกิน[2], โรคกรดไหลย้อน[3], ไส้เลื่อนกะบังลม[4], กินหรือดื่มเร็วเกินไป[5], การหัวเราะ[6] หรือเป็นสัญญาณของโรค เช่น ไตวาย[7], โรคหลอดเลือดสมอง[7], โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง[8], เยื่อหุ้มสมองอักเสบ[7] หรือเส้นประสาทเวกัสถูกทำลาย[4]โดยปกติแล้วอาการสะอึกจะหายได้เอง แต่มีการเสนอหลายวิธีเพื่อช่วยให้หายสะอึกเร็วขึ้น เช่น กลั้นหายใจ, หายใจในถุงกระดาษหรืองอเข่าเข้าหาตัวแล้วเอนไปด้านหน้า[9] แต่ในรายที่สะอึกเรื้อรังอาจต้องรับยาบาโคลเฟน, คลอร์โพรมาซีน, เมทาโคลพราไมด์ หรือเข้ารับการผ่าตัด[10] บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ รายงานว่าชาลส์ ออสบอร์น ชายชาวอเมริกันเป็นผู้ที่สะอึกนานที่สุดเป็นเวลา 68 ปี (ระหว่างปี ค.ศ. 1922-1990)[11]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สะอึก http://www.diseasesdatabase.com/ddb5887.htm http://www.emedicine.com/emerg/topic252.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=786.... http://www.livestrong.com/article/241185-causes-of... http://www.mayoclinic.com/health/hiccups/DS00975/D... http://time.com/4150086/hiccups-cure/ http://www.webmd.com/digestive-disorders/tc/hiccup... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3504071 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15560692 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22377831