ความสำคัญต่อร่างกาย ของ สังกะสี

  สังกะสีถือเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย และต้องได้รับเป็นประจำ เนื่องจากเป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญหลายประการต่อร่างกาย ได้แก่
  • ช่วยกระตุ้นการสร้าง และการซ่อมแซมหนังกำพร้า
  • ช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจน
  • ช่วยในกระบวนการสร้างเอนไซม์ ระบบภูมิคุ้มกัน การสร้างสารพันธุกรรม และการซ่อมแซมบาดแผล

ปริมาณที่ควรได้รับธาตุสังกะสี

ร่างกายควรได้รับสังกะสี 12-15 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ (หญิงให้นมบุตรควรได้รับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย)

โรคจากการขาดแร่ธาตุสังกะสี

1. เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อวัยวะสืบพันธุ์ไม่เจริญเต็มที่

2. ต่อมลูกหมากโต

3. ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง

4. ลิ้นจะขาดการรับรู้รสอาหาร

5. มีจุดขาวๆ ที่เล็บ

6. อ่อนเพลีย เซื่องซึม เหนื่อยง่าย

7. ผมร่วง มีรังแคมาก

8. การไหลเวียนของเลือดไม่ดี

9. หากขาดในเด็ก จะทำให้มีร่างกายเตี้ย แคระ

10. เป็นโรคกระดูกพรุน

อาการขาดสังกะสี

ซึ่งถ้าร่างกายมีอาการขาดแร่ธาตุ สังกะสี เป็นเวลานาน จะเป็นผลให้เกิดอาการต่างๆ มากมาย ดังนี้

1. การเจริญเติบโตในเด็กล่าช้า ตัวเล็ก แคระแกรน หรือหยุดชะงักเป็นหนุ่มเป็นสาว

2. ผิวหนังมีการอักเสบ โดยระยะแรกจะเป็นรอบปาก และอวัยวะเพศ ต่อมาจะลามไปที่แขนและขา เริ่มแรกอาจเป็นแค่ผื่นแดง ต่อมาจะมีลักษณะเป็นเม็ดพุพอง

3. ระบบทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการเบื่ออาหาร การรู้รสลดน้อยลง

4. ระบบประสาท อาจมีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขาดสมาธิ เหม่อลอย และมีอาการตาบอดแสงได้

5. ระบบต่อมไร้ท่อ คือ ทำให้อวัยวะเพศเด็กเล็ก ไม่โตขึ้นตามวัย

6. มีอาการผมร่วง แตกปลาย เล็บเปราะ ผิวแห้ง