การทำงาน ของ สัญญา_ธรรมศักดิ์

การดำรงตำแหน่งในด้านตุลาการ


การดำรงตำแหน่งองคมนตรี

ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2511[4] เรื่อยมาจนกระทั่งถึงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ท่านกราบบังคมทูลลาไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาหลังจากท่านพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรีอีกครั้ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2518 พร้อมกับบุคคลอื่น ๆ อีก 11 คน[5] ต่อมา หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ประธานองคมนตรีถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2518 ตำแหน่งประธานองคมนตรีจึงว่างลง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นประธานองคมนตรี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2518[6] ท่านดำรงตำแหน่งนี้เรื่อยมาจนถึงวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 จึงพ้นจากตำแหน่งประธานองคมนตรี โดยท่านขอลาออกเองเนื่องจากปัญหาสุขภาพ[7] พลเอกเปรม ติณสูลานนท์จึงได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นประธานองคมนตรีสืบมา

การดำรงตำแหน่งในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สัญญา ธรรมศักดิ์ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2511[8]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ขณะที่แถลงการณ์ออกโทรทัศน์นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516

ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516[9] เวลา 19.00 น. ในเหตุการณ์ 14 ตุลา หลังจากถวายบังคมลาออกของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และองคมนตรีอยู่ หลังจากได้มีประกาศแต่งตั้งไป กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้โห่ร้องด้วยความดีใจ แต่บางส่วนก็ยังไม่ปักใจเชื่อ และการปะทะกันก็ยังต่อเนื่องอยู่ ในเวลา 23.15 น. ท่านได้กล่าวคำปราศรัยจากหอพระสมุด ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน โดยผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยว่า

พี่น้องชาวไทย นิสิต นักศึกษาและประชาชนชาวไทยที่รักทั้งหลาย ด้วยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในวันนี้ให้ข้าพเจ้าเข้ารับภาระหน้าที่อันหนัก เป็นนายกรัฐมนตรีแม้จะเป็นระยะเวลาที่ยากลำบากอย่างยิ่ง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ดี ข้าพเจ้าก็รับพระบารมีใส่เกล้า ฯ จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและจะทำงานโดยเต็มสติกำลังความสามารถ ในชั้นแรกและที่เป็นการด่วนอย่างยิ่งในวันนี้ก็คือข้าพเจ้าขอร้องให้พี่น้องชาวไทยทั้งหลาย ทั้งที่เป็นทหารตำรวจ นิสิต นักศึกษา และประชาชนขอให้รักษาความสงบเรียบร้อยโดยพลัน ทั้งนี้เพื่อประชาชนและเพื่อชาติศาสนาพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของเรา ข้าพเจ้าขอสัญญาว่าจะให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ และข้าพเจ้าคาดคิดว่าไม่ควรจะเกิน 6 เดือน นับแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะเชื้อเชิญท่านผู้ทรงคุณวุฒิมีคุณธรรมความสามารถความซื่อสัตย์สุจริตประกอบเข้าเป็นคณะรัฐมนตรีในเร็ววันนี้ ขอให้ท่านข้าราชการประจำทุกท่าน ไม่ว่าในตำแหน่งใดได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ท่านมีอยู่ในปัจจุบันต่อไปตามเดิมทุกประการ

จากนั้นในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เวลา 16.00 น. ท่านได้นำคณะรัฐมนตรี เข้าเฝ้าเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่ง ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดนี้ประกอบด้วยบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประกอบ หุตะสิงห์ เป็นรัฐมนตรีว่ากระทรวงยุติธรรม พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ น.พ.เสม พริ้งพวงแก้ว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ได้ถูกสื่อมวลชนตั้งฉายาให้ว่า "รัฐบาลท่านพระครู" เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเป็นบุคคลที่ธรรมะธรรมโม และแม้ได้เข้ามาบริหารราชการแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ในประเทศยังคงระอุอยู่ เพราะเหตุความวุ่นวายต่าง ๆ และรัฐบาลเสนอกฎหมายผ่านสภาถึง 3 ฉบับ แต่ไม่ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงได้รับฉายาใหม่ว่า "รัฐบาลมะเขือเผา" จนในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ท่านได้ทำหนังสือลาออกจากตำแหน่ง แต่ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานสภานิติบัญญัติ เห็นชอบให้ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีตามเดิมในวันที่ 28 พฤษภาคม[10] จนกระทั่งมีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 และวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปจากการเลือกตั้ง ท่านจึงได้พ้นวาระไป

ใกล้เคียง

สัญญา สัญญา ธรรมศักดิ์ สัญญา คุณากร สัญญาณแจ้งเหตุร้าย สัญญากับมาร สัญญาณเรียกขาน สัญญาประชาคม สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู สัญญาณว้าว! สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู

แหล่งที่มา

WikiPedia: สัญญา_ธรรมศักดิ์ http://www.sanyadharmasakti.com http://rdd.mcot.net/bio/query.php?id=4920 http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/issue/vie... http://law.tu.ac.th/hall_of_fame/sanya/his_sanya.h... http://digi.library.tu.ac.th/thesis/lib/1065/ http://www.museum.judiciary.go.th/malao/sanya.html http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2496/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2502/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2504/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2511/A/...