สัญญาต้องเป็นสัญญา

สัญญาต้องเป็นสัญญา (อังกฤษ: agreements must be kept[1]; ละติน: pacta sunt servanda, พักตาซุนต์เซอร์วันดา[2]) เป็นภาษิตภาษาละตินทางกฎหมาย ซึ่งเป็นหลักกฎหมายพื้นฐานสำหรับระบบซีวิลลอว์ (civil law system) และสำหรับวงการกฎหมายระหว่างประเทศ[3]ในความเข้าใจส่วนใหญ่ หลักกฎหมายดังกล่าวหมายควบคุมสัญญาของเอกชน โดยเน้นว่าข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้นั้นเป็นประดุจกฎเหล็กเหนือคู่กรณีทั้งสองฝ่าย คู่สัญญาต้องกระทำการโดยสุจริตซึ่งกันและกันตามหลักสุจริต (good faith; bona fide) และการที่คู่สัญญาฝ่ายใดไม่ชำระหนี้ (obligation) ให้ลุล่วงไปนั้นชื่อว่า "ผิดสัญญา" (breach of the pact)ส่วนในวงการกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ถือกันดังที่บัญญัติไว้ในข้อ 26 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา (Vienna Convention on the Law of Treaties) และข้อ 26 แห่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญาระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศหรือระหว่างองค์การระหว่างประเทศ (Vienna Convention on the Law of Treaties between States and International Organizations or between International Organizations) ซึ่งมีข้อความเดียวกันว่า "สนธิสัญญาทุกรายที่มีผลใช้บังคับแล้ว ย่อมผูกพันภาคีแห่งสนธิสัญญารายนั้น และต้องได้รับการปฏิบัติโดยภาคีนั้นอย่างสุจริต" (Every treaty in force is binding upon the parties to it and must be performed by them in good faith.) โดยหลัก "สัญญาต้องเป็นสัญญา" นี้ส่งผลให้รัฐมีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ของตนโดยสุจริตและโดยไม่บกพร่องอย่างไรก็ดี ในกรณีที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปก็อาจทำให้ข้อสัญญาบางประการไม่อาจใช้บังคับได้ ซึ่งก็ต้องมีการตกลงแก้ไขกันต่อไป ทำให้เกิดข้อยกเว้นของหลัก "สัญญาต้องเป็นสัญญา" ดังกล่าว และข้อยกเว้นนี้เป็นไปตามภาษิตละตินที่ว่า "การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์นำไปสู่การแก้ไขข้อสัญญา" (things thus standing; clausula rebus sic stantibus)

ใกล้เคียง

สัญญา สัญญา ธรรมศักดิ์ สัญญา คุณากร สัญญาประชาคม สัญญาณแจ้งเหตุร้าย สัญญาณเรียกขาน สัญญากับมาร สัญญาณว้าว! สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู