ประวัติ ของ สัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือของไทย

สัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือของไทย มีการใช้งานมาอย่างไม่เป็นทางการมาก่อนหน้านี้แล้วตามหลักนิยมของกองทัพเรือไทยที่ใช้การจัดกำลังตามแบบของกองทัพเรือสหรัฐ โดยยึดหลักตามแนวทางของหนังสือ Jane's Fighting Ships[1] ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ได้มีการกำหนดประเภทของเรือในกองทัพเรือขึ้นโดยคณะทำงานพิจารณาและจัดทำเอกสารอ้างอิงของกองทัพเรือด้านยุทธการ กิจการพลเรือน และการสรรพาวุธ[1]

จากนั้นได้มีการกำหนดขึ้นตามระเบียบกองทัพเรือ ว่าด้วยการแบ่งประเภทของเรือหลวง พ.ศ. 2555 ซึ่งกำหนดมาเพื่อให้ครอบคลุมเรือทุกประเภทที่มีการใช้งานอยู่หรือมีแผนจะจัดหามาใช้งานในอนาคตของกองทัพเรือ โดยมีการระบุสัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือไว้ในส่วนของภาคผนวกส่วนของอักษรย่อภาษาอังกฤษ รวมถึงให้ยกเลิกระเบียบกองทัพเรือว่าด้วยการแบ่งประเภทของเรือหลวง พ.ศ. 2541 ซึ่งในส่วนของตัวระเบียบที่ประกาศใช้นั้น มีเพียงการกำหนดประเภทและชื่อประเภทเรือรวมถึงเรือภายในแต่ละประเภท ไม่ได้มีการกำหนดอักษรย่อหรือสัญลักษณ์การจัดประเภทภาษาอังกฤษเป็นการเฉพาะบนส่วนของระเบียบ แต่มีระบุอยู่ในส่วนของภาคผนวก และให้อำนาจกรมยุทธการทหารเรือเป็นผู้พิจารณาในการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มลดประเภทของเรือ รวมถึงอักษรย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษที่ใช้ตามระบบสัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือ[2]

สำหรับการใช้งานสัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือนอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ในระเบียบฯ พ.ศ. 2555 โดยอ้างอิงตามสัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือของกองทัพเรือสหรัฐ[3][4] โดยมีการใช้งานและเผยแพร่โดยทั้งกองทัพเรือเอง และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศ[5]และต่างประเทศ[6][4] เช่น ในเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร[4] และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช[7]

ใกล้เคียง

สัญลักษณ์สกุลเงิน สัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือ สัญลักษณ์โอลิมปิก สัญลักษณ์ สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ สัญลักษณ์พาราลิมปิก สัญลักษณ์ศาสนาอิสลาม สัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบ สัญลักษณ์รัฐประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สัญลักษณ์เยน