ประวัติ ของ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์_มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ แรกเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2525 ภายใต้ชื่อ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากในขณะนั้นได้จัดการเรียนการสอนหลักสูตรส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร วิชาเอกส่งเสริมการเกษตร และแขนงวิชาสหกรณ์ วิชาเอกสหกรณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับงานวิจัยเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อมหาวิทยาลัยเปิด 2521” โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาและจัดทำโครงการ ผลการวิจัยดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า มีผู้สนใจสาขาวิชาทางเกษตรเป็นจำนวนมากในจำนวนสาขาวิชาที่เลือกเป็นอันดับหนึ่งจาก 10 สาขาวิชา ซึ่งสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2522 ให้มีโครงการจัดตั้งสาขาวิชาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนทางการเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศชาติ

ปีพ.ศ. 2534 หลักสูตรส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร วิชาเอกส่งเสริมการป่าไม้

ปีพ.ศ. 2538 หลักสูตรเกษตรศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีการเกษตร วิชาเอกการจัดการการผลิตพืช และแขนงวิชาธุรกิจการเกษตร วิชาเอกธุรกิจการเกษตร

ปีพ.ศ. 2543 หลักสูตรเกษตรศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีการเกษตร วิชาเอกการจัดการการผลิตสัตว์ แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร วิชาเอกส่งเสริมการเกษตร (หลักสูตรปรับปรุงใหม่) และหลักสูตรเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร

ปีพ.ศ. 2550 หลักสูตรเกษตรศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาการจัดการการเกษตร วิชาเอกการจัดการทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม วิชาเอกการจัดการการผลิตพืช วิชาเอกการจัดการการผลิตสัตว์ และวิชาเอกธุรกิจการเกษตร

ปีพ.ศ. 2551 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต แขนงวิชาสหกรณ์ (พหุวิทยาการ)

ปีพ.ศ. 2554 หลักสูตรเกษตรศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร, หลักสูตรเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ,หลักสูตรเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการจัดการการเกษตร วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร ,หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แขนงวิชาสหกรณ์ (พหุวิทยาการ) เพื่อให้ชื่อสาขาวิชาครอบคลุมหลักสูตรต่างๆ ที่มีการจัดการเรียนการสอน จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาจาก ส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ เป็น เกษตรศาสตร์และสหกรณ์ ตามที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถและวิทยฐานะให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการเกษตรทั้งภาครัฐและเอกชน เกษตรกร ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่สนใจ โดยจัดการเรียนการสอนตามระบบเปิดที่ยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อเป็นการพัฒนากำลังคนในด้านการเกษตรและสหกรณ์ ให้มีความรู้ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรและสหกรณ์ อันจะส่งผลให้มีความรักต่อธรรมชาติ และปรารถนาจะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศสืบไป[1]

ใกล้เคียง

สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชารัฐประศาสนศาสนสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาโยธาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี