สาธารณรัฐนอฟโกรอด
สาธารณรัฐนอฟโกรอด

สาธารณรัฐนอฟโกรอด


ธง (ตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. 1385)สาธารณรัฐนอฟโกรอด (รัสเซีย: Новгородская республика, อังกฤษ: Novgorod Republic) เป็นสาธารณรัฐใหญ่ในยุคกลางของรัสเซียที่มีอาณาบริเวณตั้งแต่ทะเลบอลติกไปจนถึงเทือกเขายูรัล สาธารณรัฐนอฟโกรอดมีความรุ่งเรืองระหว่างคริสต์ศักราชที่ 12 ถึง 15 โดยมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณนอฟโกรอด คำว่า “สาธารณรัฐศักดินา” (feudal republic) เป็นคำที่มักจะใช้เรียกโดยนักวิชาการในสมัยโซเวียต และโดยนักวิชาการมาร์กซิสต์เพื่อให้ตรงกับปรัชญาทางประวัติศาสตร์ของลัทธิที่ประกอบด้วยยุคทาส ยุคศักดินา ยุคทุนนิยม ยุคสังคมนิยม และยุคคอมมิวนิสต์[1] แต่นักวิชาการในปัจจุบันตั้งความสงสัยว่ารัสเซียจะเคยใช้ระบบศักดินาในความหมายเดียวกับที่ใช้ในตะวันตกในยุคกลางจริงหรือไม่[2] และคำว่า “สาธารณรัฐศักดินา” ก็ไม่เคยได้รับการใช้โดยชาวนอฟโกรอดเองแต่จะเรียกนครรัฐของตนเองว่า “อาณาจักรลอร์ดแห่งนอฟโกรอดเดอะเกรต” (His Majesty (หรือ Sovereign) Lord Novgorod the Great) (Государь Господин Великий Новгород) หรือ “ลอร์ดแห่งนอฟโกรอดเดอะเกรต” (Господин Великий Новгород)[3] อาณาบริเวณทั้งหมด - ทั้งตัวเมืองและดินแดนที่ไกลออกไป - รู้จักกันว่าเป็น “ดินแดนนอฟโกรอด” (Novgorodian Land)นอฟโกรอดเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเคียฟรุสมาจนกระทั่งถึงราวปี ค.ศ. 1019 หรือ ค.ศ. 1020 เจ้าแห่งนอฟโกรอดแต่งตั้งโดยแกรนด์พริ้นซ์แห่งเคียฟซึ่งมักพระเป็นพระโอรสองค์ใดองค์หนึ่ง นอฟโกรอดมีบทบาทสำคัญทางการเมืองต่อชนรุสเรื่อยมาโดยการช่วยเหลือวลาดิเมียร์มหาราชแห่งเคียฟ และในการหนุนหลังยาโรสลาฟเดอะไวส์ขึ้นเป็นกษัตริย์ของเคียฟ สิ่งแรกที่ทรงทำคือทรงพระราชทางสิทธิพิเศษต่างๆ ให้นอฟโกรอดซึ่งเท่ากับเป็นการปูรากฐานในการเป็นสาธารณรัฐของนอฟโกรอดต่อมา

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐเท็กซัส สาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐประชาชนยูเครน