เอกราช ของ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่_2

โฮเซ พี ลอเรล ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2

ก่อนการจัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการณ์ ญี่ปุ่นให้ทางเลือกที่จะให้ฟิลิปปินส์อยู่ภายใต้การปกครองของอาร์เตมีโอ รีการ์เต ผู้ที่ญี่ปุ่นพากลับมาจากโยโกฮามาเพื่อช่วยในการโฆษณาชวนเชื่อ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการสูงสุดของฟิลิปปินส์ปฏิเสธทางเลือกนี้ และเลือกที่จะเป็นสาธารณรัฐ เมื่อนายกรัฐมนตรีฮิเดกิ โตโก มาเยือนฟิลิปปินส์เมื่อ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 เขาได้ให้สัญญาว่าจะให้เอกราชแก่ฟิลิปปินส์ในฐานะส่วนหนึ่งของวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา[2]

กาลิบาปีได้จัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการณ์เพื่อเอกราชฟิลิปปินส์เมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2486 [3]ร่างรัฐธรรมนูญที่เตรียมโดยคณะกรรมการที่มีสมาชิก 20 คน [4]นำโดย โฮเซ พี ลอเรล [5] ได้นำเสนอเมื่อ 4 กันยายน พ.ศ. 2486 และอีกสามวันต่อมา กาลิบาปีได้อนุมัติร่างนี้[4]

ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2486 ได้เลือกตัวแทนกาลิบาปีระดับจังหวัดและเมืองเป็นสมาชิกสภาแห่งชาติฟิลิปปินส์จำนวน 45 คน โดยผู้บริหารจังหวัดและเมืองเป็นสมาชิกร่วม สามวันหลังจากจัดตั้งสภาแห่งชาติ สภาได้เปิดประชุมและเลือกเบนิกโน เอส อากีโนเป็นโฆษกรัฐบาล และลอเรลเป็นประธานาธบดี ซึ่งเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ซึ่งถือเป็นการสถาปนาสาธารณรัฐ อดีตประธานาธิบดี เอเมลิโอ อากีนัลโด และนายพลอาร์เตมีโอ รีการ์เตได้ชักธงฟิลิปปินส์[4]ซึ่งเป็นธงเดียวกับที่ใช้ในสงครามฟิลิปปินส์-สหรัฐ[2] ในวันเดียวกันนั้น ได้มีการลงนามระหว่างสาธารณรัฐใหม่กับญี่ปุ่น และสภาแห่งชาติได้ให้สัตยาบันในอีกสองวันต่อมา

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐเท็กซัส สาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐประชาชนยูเครน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่_2 http://www.angelfire.com/al4/al_den/laurel.htm http://www.filipiniana.net/publication/constitutio... http://www.lawphil.net/executive/proc/proc_29_1944... http://www.lawphil.net/executive/proc/proc_30_1944... http://www.pangulo.ph/prexy_jpl.php https://books.google.com/?id=FiEMgP36lScC&pg=PA211... https://books.google.com/?id=GVNaTk9nLosC&pg=PA355... https://books.google.com/?id=gUt5v8ET4QYC&pg=PA228... https://books.google.com/books?id=QKgraWbb7yoC&lpg...