ความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ของ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนแอลเบเนีย

ต่อมาเมื่อนีกีตา ครุชชอฟ ขึ้นมามีอำนาจใน ค.ศ. 1956 และมีนโยบายผูกมิตรกับยูโกสลาเวียอีกครั้ง และปรับเปลี่ยนนโยบายไปจากยุคของสตาลิน ทำให้ผู้นำแอลเบเนียที่นิยมสตาลินไม่พอใจหันไปสร้างความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนแทน สหภาพโซเวียตประณามแอลเบเนียที่ไม่ร่วมล้มล้างอิทธิพลของสตาลิน แอลเบเนียจึงโต้ตอบด้วยการปิดฐานทัพเรือดำน้ำของโซเวียตที่เมืองวโลเรอร์

เมื่อเหมาเจ๋อตงถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ. 1976 และจีนเริ่มดำเนินนโยบายผ่อนปรน ผูกมิตรกับสหรัฐอเมริกามากขึ้น ฮฺอกซา ผู้นำพรรคอมมิวนิสต์แอลเบเนียไม่พอใจ ตัดความสัมพันธ์กับประเทศจีนเมื่อ ค.ศ. 1977 จากนั้น แอลเบเนียดำเนินนโยบายอยู่อย่างโดดเดี่ยว

ในขณะเดียวกัน การเมืองภายในแอลเบเนียมีความขัดแย้งมากขึ้น เมห์เมต เซฮู ไม่พอใจนโยบายตัดความสัมพันธ์กับจีน พยายามก่อรัฐประหารแต่ไม่สำเร็จ เซฮูถูกประหารชีวิต โซซาปกครองประเทศแบบเผด็จการจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ 11 เมษายน พ.ศ. 2528 รามิซ อาเลีย ผู้สืบทอดอำนาจต่อจากโซซาดำเนินนโยบายที่ผ่อนปรนมากขึ้น ในที่สุดได้มีการปฏิรูปการเมืองจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 ผลปรากฏว่าพรรคแรงงานแอลเบเนียได้เสียงส่วนใหญ่ รามิซ อาเลียได้เป็นประธานาธิบดี มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐแอลเบเนีย

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐเท็กซัส สาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐประชาชนยูเครน