สาธารณรัฐสังคมอิตาลี
สาธารณรัฐสังคมอิตาลี

สาธารณรัฐสังคมอิตาลี

สาธารณรัฐสังคมอิตาลี (อิตาลี: Repubblica Sociale Italiana, RSI) เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและในประวัติศาสตร์คือ สาธารณรัฐซาโล(อิตาลี: Repubblica di Salò [reˈpubblika di saˈlɔ]), เป็นรัฐหุ่นเชิดของเยอรมันด้วยการรับรองที่จำกัดซึ่งถูกสร้างขึ้นในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ดำรงอยู่นับตั้งแต่เริ่มต้นด้วยเยอรมันเข้ายึดครองอิตาลีในเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 จนกระทั่งการยอมจำนนของกองทัพเยอรมันในอิตาลีในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 สาธารณรัฐสังคมอิตาลีเป็นประเทศที่ถือกำเนิดเป็นครั้งที่สองและครั้งสุดท้ายของรัฐฟาสซิสต์อิตาลีและภายใต้การนำของดูเช เบนิโต มุสโสลินี และพรรคฟาสซิสต์รีพับลิกันของเขาได้หันไปเป็นผู้ต่อต้านระบอบราชาธิปไตย ซึ่งได้พยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขและให้ทันสมัยของหลักคำสอนลัทธิฟาสซิสต์ในแนวทางที่เป็นกลางและซับซ้อนมากขึ้น รัฐได้ประกาศว่ากรุงโรมเป็นเมืองหลวงแต่ในทางพฤตินัย ซึ่งตั้งอยู่ที่ซาโล(ดังนั้นจึงเป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการ) เมืองขนาดเล็กบนทะเลสาบการ์ดา ใกล้กับเบรชชา ที่มุสโสลินีและกระทรวงการต่างประเทศได้ตั้งสำนักงานใหญ่ที่นั้น สาธารณรัฐสังคมอิตาลีมีอำนาจอธิปไตยในนามในทางภาคเหนือและกลางของอิตาลี แต่ต้องพึ่งพาทหารเยอรมันเพื่อรักษาการควบคุมเป็นส่วนใหญ่ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1943 ภายหลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรได้ผลักดันอิตาลีออกจากแอฟริกาเหนือและจากนั้นก็บุกครองเกาะซิซิลี สภาใหญ่ฟาสซิสต์-ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3-ได้รับสั่งให้ทำการล้มล้างและจับกุมมุสโสลินี รัฐบาลใหม่ได้เริ่มทำการเจรจาสันติภาพอย่างลับๆกับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อการสงบศึกที่แคสซิเบียได้ถูกประกาศ เมื่อวันที่ 8 กันยายน เยอรมนีได้เตรียมความพร้อมและเข้าแทรกแซงอย่างรวดเร็ว เยอรมนีได้เข้ายึดครองควบคุมทางตอนเหนือครึ่งหนึ่งของอิตาลี ได้ปลดปล่อยมุสโสลินีออกจากที่คุมขังและพาเขาไปยังพื้นที่ที่เยอรมันยึดครองเพื่อจัดตั้งระบอบประเทศรัฐบริวาร สาธารณรัฐสังคมอิตาลีได้ถูกประกาศขึ้น เมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1943[2][4] แม้ว่าสาธารณรัฐสังคมอิตาลีได้กล่าวอ้างว่าดินแดนส่วนใหญ่ของอิตาลีเป็นสิทธิ์อันชอบธรรม มันได้ควบคุมทางการเมืองในส่วนที่เหลือน้อยอย่างมากของอิตาลี[5] สาธารณรัฐสังคมอิตาลีได้รับรองทางการทูตจากเยอรมนี ญี่ปุ่น และรัฐหุ่นเชิดของพวกเขาเท่านั้นเมื่อประมาณวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1945 สาธารณรัฐฟาสซิสต์ของมุสโสลินีได้ล่มสลายลง ในอิตาลี, วันนั้นได้เป็นที่รู้จักกันคือ วันปลดปล่อย(''festa della liberazione'') ซึ่งวันนั้นเป็นการก่อการกำเริบของพลพรรคทั่วไป พร้อมกับความพยายามของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงการรุกอิตาลีครั้งสุดท้ายของพวกเขา ได้จัดการขับไล่เยอรมันออกไปจากอิตาลีเกือบทั้งหมด เมื่อถึงจุดสิ้นสุด สาธารณรัฐสังคมอิตาลีได้ดำรงอยู่นานกว่าเก้าเดือนเศษ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พลพรรคได้จับกุมมุสโสลินี อนุภรรยาของเขา(คลาล่า แปตะชิ) รัฐมนตรีของสาธารณรัฐสังคมอิตาลีและฟาสซิสต์อิตาลีคนอื่นๆอีกหลายคน ในขณะที่พวกเขาได้พยายามหลบหนี เมื่อวันที่ 28 เมษายน พลพรรคได้ประหารชีวิตแก่มุสโสลินีและนักโทษคนอื่นๆจำนวนมาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โรดอลโฟ กราซีอานี ได้ยอมจำนนในส่วนที่เหลืออยู่ของสาธารณรัฐสังคมอิตาลี หนึ่งวันก่อนที่กองทัพเยอรมันในอิตาลีจะยอมจำนน-นี้ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐสังคมอิตาลี

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐเท็กซัส สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐประชาชนยูเครน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สาธารณรัฐสังคมอิตาลี http://books.google.com.br/books?id=L6HVtOSmWAEC&p... http://www.axishistory.com/index.php?id=37 http://www.comandosupremo.com/ http://www.questia.com/read/7696309?title=Italy:%2... http://www.nationalanthems.info/it-gio.htm http://archive.is/CfCc http://flagspot.net/flags/it-isr.html http://flagspot.net/flags/it_index.html http://www1.yadvashem.org/yv/en/holocaust/insights... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Repubb...