ความขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองต่างๆ ของ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า_(พ.ศ._2491–2505)

ในยุคนี้ มีปัญหาความขัดแย้งกับกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งมีพรรคคอมมิวนิสต์ธงแดงของทะขิ่นโส และพรรคคอมมิวนิสต์ธงขาวของทะขิ่นถั่นทุน กลุ่ม Yèbaw Hpyu ที่นำโดย โบ ลา ยอง ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มทะขิ่น 30 คน กองทัพปฏิวัติพม่าที่นำโดย โบ เซยา โบ ยาน ออง และโบ เหย่ ทุต ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มทะขิ่น 30 คนเช่นกัน โดยการสู้รบเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2491 นอกจากนั้น ยังเกิดความขัดแย้งกับขนกลุ่มน้อยคือมุสลิมในรัฐยะไข่และเกิดความขัดแย้งกับสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงที่ต้องการสร้างรัฐอิสระของตนเองตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491[1] ในช่วงแรก ทั้งฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายกะเหรี่ยงยึดครองพื้นที่ไว้ได้มาก ฝ่ายรัฐบาลเริ่มคุมพื้นที่คืนได้ใน พ.ศ. 2492 ต่อมา ใน พ.ศ. 2497 ชาวกะเหรี่ยงประกาศจัดตั้งรัฐอิสระชื่อรัฐกอทูเลและได้แจ้งเรื่องไปยังสหประชาชาติเพื่อให้รับรองรัฐกอทูเล พม่าได้ตอบโต้ด้วยการปราบปรามอย่างหนัก และได้จัดตั้งรัฐกะเหรี่ยงเป็นหน่วยการปกครองในสหภาพพม่า

พื้นที่ห่างไกลทางภาคเหนือของพม่าถูกควบคุมโดยกองทัพก๊กมินตั๋งที่อพยพลงมาบริเวณนี้หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับชัยชนะใน พ.ศ. 2492[1] พม่าในยุคนี้รับความช่วยเหลือจากประเทศต่างๆในการฟื้นฟูประเทศ แต่การที่สหรัฐสนับสนุนกองทัพจีนคณะชาติที่อยู่ในพม่าทำให้พม่าปฏิเสธความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ไม่เข้าร่วมในซีโต และสนับสนุนการประชุมบันดุงใน พ.ศ. 2498 นอกจากนั้น พม่ายังเป็นประเทศแรกที่รับรองประเทศอิสราเอลและสาธารณรัฐประชาชนจีน

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐเท็กซัส สาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐประชาชนยูเครน