สามัคคีสมาคม
สามัคคีสมาคม

สามัคคีสมาคม

สามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อังกฤษ: Samaggi Samagom, The Thai Students’ Association in UK)ได้ถือกำเนิดครึ่งในปี พ.ศ. 2444 โดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารในสมัยนั้น) เพื่อเป็นสมาคมที่ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา แก่บรรดาประชาชนชาวไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษา เพื่อให้บุคคลเหล่านี้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการดำเนินชีวิตในประเทศที่ห่างจากบ้านเกิดและสามารถศึกษาเล่าเรียนได้อย่างเต็มที่สามัคคีสมาคมก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2444 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้ไม่นาน ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระองค์แรกของสมาคม นับเป็นสมาคมแห่งแรกของคนไทยในสหราชอาณาจักร และแห่งเดียวเท่านั้นที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ตั้งแต่แรก ทั้งยังเป็นสมาคมนักเรียนไทยและสมาคมคนไทยในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดอีกด้วย นับแต่นั้นเป็นต้นมา สามัคคีสมาคมก็ได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมและเป็นสื่อกลางในการสรรค์สร้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในระหว่างนักเรียนไทย และระหว่างคนไทยในสหราชอาณาจักร ทั้งยังเป็นเวทีแห่งการเผยแพร่ขนมธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และเชิดชูเกียรติแห่งประเทศไทยสู่ชาวอังกฤษอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันสามัคคีสมาคมมีสมาชิกเป็นสมาคมนักเรียนไทยจากมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วสหราชอาณาจักรกว่า 65 มหาวิทยาลัย สามัคคีสมาคมเป็นแหล่งรวมบุคคลชั้นนำในหลายๆสาขาที่เป็นนักเรียนเก่าอังกฤษ กรรมการและสมาชิกสามัคคีสมาคมภายหลังได้เป็นบุคคลสำคัญมากมาย เช่น พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์, ม.ร.ว.เสนีย์ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายกรณ์ จาติกวณิช, นายนพดล ปัทมะ, รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร, นายอานันท์ ปันยารชุน, ศ.เติมศักดิ์ กฤษณามระ, ศ.ดร.กำแหง พลางกูร, ศ.ดร.พัทยา สายหู, นายปิ่นทิพย์ สุจริตกุล, เป็นต้น.ธรรมนูญสามัคคีสมาคม สามัคคีสมาคมบริหารงานภายใต้ธรรมนูญสามัคคีสมาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดที่ได้รับการยกร่างแก้ไขฉบับเดิมที่ถูกใช้มาอย่างยาวนานให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน