ประวัติ ของ สามเหลี่ยมชมพู

ในนาซีเยอรมนีนักโทษทุกคนต้องใส่เสื้อแจ็คเกตที่มีสัญลักษณ์ของค่ายกักกันโดยจะแบ่งกันเป็นกลุ่มตามสี ชายรักร่วมเพศต้องใส่สามเหลี่ยมชมพู แม้ว่าจะเป็รการยากที่จะคาดคะเนจำนวนเกย์ในค่ายกักกันของเยอรมัน ริชาร์ด แพลนท์ได้คาดเดาไว้ว่าระหว่างปีค.ศ. 1933 และ 1944 น่าจะมีประมาณ 50,000 ถึง 60,000 คน[4]

ในช่วงปลายของยุค 70 สามเหลี่ยนชมพูถูกนำมาใช้แทนสัญลักษณ์ในการประท้วงสิทธิชาวเกย์[7][8]

สามเหลี่ยมสีชมพูล้อมรอบด้วยวงกลมสีเขียวแสดงถึงเพื่อนชาวเกย์ (Straight ally) สิทธิเกย์ และพื้นที่ที่ปราศจากโฮโมโฟเบีย

กลุ่มผู้สนันสนุนผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือ The AIDS Coalition To Unleash Power (ACT UP) ได้นำสามเหลี่ยมชมพูไปใช้พร้อมกับสโลแกน ความเงียบ = ตาย ("SILENCE = DEATH") ไปใช้เป็นโลโก้โดยนักเคลื่อนไหวเกย์ที่นครนิวยอร์กในปี 1987[9][10]

สามเหลี่ยชมพูเป็นพื้นฐานของการออกแบบอนุเสาวรีย์โฮโม (Homomonument ) ในอัมสเตอร์ดัม อนุสรณ์ฮอโลคอสต์เกย์และเลสเบี้ยนในซิดนีย์ (Gay and Lesbian Holocaust Memorial) และสวนสามเหลี่ยมชมพู (Pink Triangle Park) ในซานฟรานซิสโก[11]

ใกล้เคียง

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา สามเหมียวยอดนินจา สามเหลี่ยมทองคำ สามเหลี่ยมมรกต สามเหลี่ยมปะการัง สามเหลี่ยมฤดูร้อน สามเหลี่ยมชมพู สามเหลี่ยมทองคำ (แก้ความกำกวม) สามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนเจอร์ สามเหลี่ยมมังกร