ที่มา ของ สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

การกล่าวอ้างถึงการหายสาบสูญอย่างผิดปกติในพื้นที่เบอร์มิวดาปรากฏในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1950 ในบทความของแอสโซซิเอด เพลส โดยเอ็ดเวิร์ด ฟาน วินเคิล โจนส์[2] อีกสองปีต่อมา นิตยสารเฟท ได้ตีพิมพ์ "ความลึกลับที่ประตูหลังของเรา"[3] บทความสั้นโดย จอร์จ แอกซ์. แซนด์ ซึ่งครอบคลุมเครื่องบินและเรือจำนวนมากที่หายสาบสูญไป รวมไปถึงการหายสาบสูญของฝูงบิน 19 ฝูงบินกองทัพเรือสหรัฐซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดทีบีเอ็ม อแวงเกอร์ห้าลำ ซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกบิน บทความของแซนด์ได้เป็นงานเขียนแรก ๆ ซึ่งทำให้เกิดเป็นแนวคิดอันเป็นที่รู้จักกันดีของพื้นที่สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา อันเป็นสถานที่ที่เกิดการหายสาบสูญอย่างหาสาเหตุไม่ได้ การหายสาบสูญของฝูงบิน 19 ได้ปรากฏในนิตยสารอเมริกันลีเจียน ฉบับประจำเดือนเมษายน ค.ศ. 1962[4] โดยกล่าวอ้างว่าผู้บังคับฝูงบินได้กล่าวว่า "เรากำลังเข้าสู่เขตน้ำขาว ไม่มีอะไรดูปกติเลย เราไม่รู้ว่าเราอยู่ที่ไหน น้ำทะเลเป็นสีเขียว ไม่ใช่สีขาว" นอกจากนี้ ยังได้มีการกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่คณะกรรมการสืบสวนของกองทัพเรือยังได้ระบุว่าเครื่องบินทั้งหมดได้ "บินสู่ดาวอังคาร" บทความของแซนด์เป็นงานเขียนชิ้นแรกซึ่งเสนอว่ามีปัจจัยเหนือธรรมชาติที่มีผลต่อเหตุการณ์หายสาบสูญของฝูงบิน 19 ในนิตยสารอาร์กอสซี ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1964 บทความของวินเซนต์ เอช. แกดดิส "สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาร้ายกาจ" ซึ่งโต้แย้งว่าฝูงบิน 19 และการหายสาบสูญไปอื่น ๆ เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบของเหตุการณ์ประหลาด ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่[5] ในปีต่อมา แกดดิสได้ขยายบทความของเขาไปเป็นหนังสือ ชื่อว่า อินวิสซิเบิลฮอไรซอนส์ (Invisible Horizons) [6]

ถัดมาในปี ค.ศ. 1969 นายวอลเลซ สเปนเซอร์ ได้เขียนหนังสือว่าด้วยสามเหลี่ยมปริศนานี้โดยเฉพาะออกจำหน่ายในชื่อว่า ลิมโบออฟเดอะลอสต์ (Limbo of the Lost) ถัดจากนั้น ก็มีหนังสือออกจำหน่ายตามมาอีกมากมายเกี่ยวกับความลึกลับของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ซึ่งก็มียอดจำหน่ายดีแทบทุกเล่ม ที่มีชื่อเสียงเป็นพิเศษคือบทความที่มีชื่อว่า เดอะเดวิลส์ไทรแองเกิล (The Devil's Triangle) ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1974 ซึ่งเป็นเนื้อหาสำหรับคนที่ชื่นชอบความลึกลับเกี่ยวกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเป็นอันมาก หนังสือแทบทุกเล่มมุ่งประเด็นไปยังมุมมองที่ว่า เบื้องหลังของการสูญหายนี้เกิดจากเทคโนโลยีของสิ่งทรงภูมิปัญญามากกว่าประเด็นอื่น เช่นมนุษย์ต่างดาวหรือมนุษย์ที่อาศัยอยู่ใต้มหาสมุทรบริเวณนั้น ต่างก็หาหลักฐานและทฤษฎีมาถกเถียงกัน และบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดามีอาณาบริเวณที่กว้างมาก ตั้งแต่ ฟลอริด้า-เปอร์โตริโก-เกาะเบอร์มิวดา กินพื้นที่ประมาณ 4.4 แสนตารางไมล์ เพราะฉะนั้นการค้นหาเพื่อพิสูจน์ในสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็มีองค์กรของรัฐและเอกชนต่างให้ความสนใจในการสำรวจ โดยหวังว่าจะเจอหลักฐานอะไรก็ตามที่นำมาใช้ไขปริศนาของดินแดนบริเวณนี้ได้

ใกล้เคียง

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา สามเหมียวยอดนินจา สามเหลี่ยมทองคำ สามเหลี่ยมมรกต สามเหลี่ยมปะการัง สามเหลี่ยมฤดูร้อน สามเหลี่ยมชมพู สามเหลี่ยมทองคำ (แก้ความกำกวม) สามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนเจอร์ สามเหลี่ยมมังกร

แหล่งที่มา

WikiPedia: สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา http://www.aquaexplorers.com/Bermuda_shipwrecks.ht... http://www.docksideconsultants.com/wavessup.html http://www.history.navy.mil/faqs/faq15-1.htm http://www.history.navy.mil/faqs/faq8-1.htm http://www.history.navy.mil/faqs/faq8-2.htm http://www.uscg.mil/hq/g-m/moa/reportindexcas.htm http://www.bermuda-triangle.org //doi.org/10.1177%2F0022487103256793 //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1...