ประสบการณ์ทางการเมือง ของ สายสุรี_จุติกุล

ในสมัยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 2 สมัย ปี พ.ศ. 2534-2535[1][2] ได้ริเริ่มและผลักดันงานที่เกี่ยวกับสตรี เด็ก เยาวชน การศึกษาและพัฒนาสังคม โดย

  • ริเริ่มรณรงค์และผลักดันคณะรัฐมนตรียกเลิก ปร.ฉบับที่ 337 ตลอดจนการออกพระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 ให้บุตรที่เกิดแก่สตรีไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติได้รับสัญชาติไทย
  • แก้ไขระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการสตรี ในประเด็นการลาคลอดบุตร โดยคณะรัฐมนตรีมีมติให้ลาคลอดได้ 90 วัน (จากเดิม 60 วัน) โดยใช้วันลาอื่นมาสมทบได้ และดำเนินการต่อเนื่องจนไม่ต้องใช้วันลาอื่นมาสมทบ
  • ผลักดันกระทรวงมหาดไทยให้มีการแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงานสตรีให้ขยายเวลา การลาคลอดของลูกจ้างหญิง
  • รณรงค์และผลักดันเรื่องสิทธิเด็กให้รัฐบาลลงนามรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติ
  • รณรงค์และผลักดันให้นายกรัฐมนตรีลงนามในสัตยาบันเรื่องการพัฒนาเด็กของสหประชาชาติ
  • ริเริ่มและดำเนินการให้กระทรวงศึกษาธิการ ให้เด็กไทยที่ไม่มีสูติบัตรและใบทะเบียนบ้านได้มีโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา และเด็กได้รับเอกสารหลักฐานการเรียนเพื่อให้สามารถศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นได้
  • เสนอคณะรัฐมนตรีให้ปี 2535 เป็นปีสตรีไทย และริเริ่มให้มีการจัดสรรงบประมาณแก่จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อการพัฒนาสตรีเนื่องในโอกาสปีสตรีไทย รณรงค์ให้ยุติการเที่ยวโสเภณีกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
  • รณรงค์ให้บิดาและสามี มีส่วนร่วมในการอบรมเลี้ยงดูบุตรและงานของครอบครัว รวมทั้งรณรงค์เพื่อเพิ่มความมั่นคงของครอบครัว
  • รณรงค์ให้มีการแก้กฎหมายปรามการค้าประเวณี โดยเฉพาะให้เพิ่มโทษแก่ผู้เที่ยว ผู้ค้า ผู้บังคับเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการค้าเด็ก

ใกล้เคียง

สายสุรี จุติกุล สายสุนีย์ จ๊ะนะ สายสุขุมวิท สายสุไหงบูโลห์-กาจัง สายสุไหงบูโลห์-เซอดัง-ปุตราจายา สายสวรรค์ ขยันยิ่ง สายสีแดง (องค์การขนส่งอ่าวแมสซาชูเซตส์) สายสี่เล็ก น.ศรีผึ้ง สายสีส้ม (องค์การขนส่งอ่าวแมสซาชูเซตส์) สายสีเขียว (องค์การขนส่งอ่าวแมสซาชูเซตส์)