ฉบับพิมพ์ครั้งแรกและภาคผนวก ของ สารบัญแฟ้มดาวฤกษ์ใกล้เคียงของกลีเซอ

ในปี 1957 วิลเฮ็ล์ม กลีเซอ นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน[1] ได้เผยแพร่รายการวัตถุท้องฟ้าชุดแรก โดยระบุสมบัติของดาวเกือบ 1,000 ดวงภายใน 20 พาร์เซกจากโลก เรียงลำดับตามไรต์แอสเซนชัน ดาวที่บันทึกไว้ได้รับการกำหนดรหัส GL ตามด้วยหมายเลขตั้งแต่ 1 ถึง 915[2]

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันใช้คำนำหน้าเป็น Gl (l เป็นแอลตัวพิมพ์เล็ก) หรือ GJ[3] โดย GJ ใช้กับสารบัญแฟ้มกลีเซอ–ยาไรส์ ที่ต่อเติมขึ้นภายหลัง (รายละเอียดอ่านที่หัวข้อถัดไป)[4]

ในปี 1969 กลีเซอได้ตีพิมพ์สารบัญแฟ้มใหม่ซึ่งได้ขยายขอบเขตเป็น 22 พาร์เซกและมีการปรับปรุงมากมาย[2] การใส่เพิ่มนี้ทำให้จำนวนดาวฤกษ์ทั้งหมดเป็น 1,529 เพื่อรักษาลำดับตามไรต์แอสเซนชันที่ถูกต้อง ดาวที่บันทึกไว้ใหม่จะได้รับการกำหนดหมายเลขด้วยเลขทศนิยมระหว่างเลขที่มีอยู่ เช่น Gl 4.1 และ Gl 4.2 ถูกเพิ่มเข้าไประหว่าง Gl 4 และ Gl 5[2]

ในปี 1970 ริชาร์ด วูลีย์ และคณะ ได้เผยแพร่ส่วนต่อเติมซึ่งขยายช่วงไปจนถึง 25 พาร์เซก ดาวที่บันทึกใหม่จะใช้ชื่อนำหน้าเป็น Wo โดยกำหนดหมายเลขตั้งแต่ 9001 ถึง 9850 ตามลำดับไรต์แอสเซนชัน แต่มีบางส่วนที่ซ้ำซ้อนกับส่วนที่เพิ่มในปี 1969 เช่น Gl 4.1 = Wo 9001[5]

ใกล้เคียง

สารบัญแฟ้มอิเกีย สารบัญแฟ้มดาวฤกษ์ใกล้เคียงของกลีเซอ สารบัญแฟ้มห้องสมุด สารบัญแฟ้มของเนบิวลาและกระจุกดาว สารบัญแฟ้มพื้นฐาน สารบัญแฟ้มดาวฤกษ์ สารบัญแฟ้มเฮนรี เดรเปอร์ สารบัญแฟ้มคอลด์เวลล์ สารบัญแฟ้มชาร์ปเลส สารบัญแฟ้มฮิปปาร์โคส

แหล่งที่มา

WikiPedia: สารบัญแฟ้มดาวฤกษ์ใกล้เคียงของกลีเซอ http://www.ari.uni-heidelberg.de/publikationen/vhd... http://cdsweb.u-strasbg.fr/cgi-bin/Dic-Simbad?GJ https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/1957MiABA...8...... https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/1969VeARI..22...... https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/1997yCat.5032...... https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/1979A&AS...38..4... https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/1991adc..rept...... https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/2010PASP..122..8... https://cds.u-strasbg.fr/cgi-bin/Dic-Simbad?GJ https://simbad.u-strasbg.fr/simbad/sim-basic?Ident...