สารยับยั้งโปรตีเอสชนิดพึ่งโปรตีนแซด
สารยับยั้งโปรตีเอสชนิดพึ่งโปรตีนแซด

สารยับยั้งโปรตีเอสชนิดพึ่งโปรตีนแซด

สารยับยั้งโปรตีเอสชนิดพึ่งโปรตีนแซด (อังกฤษ: Protein Z-dependent protease inhibitor หรือ ZPI) เป็นโปรตีนที่พบในกระแสเลือดของมนุษย์ ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของแฟคเตอร์ Xa และ XI ในกระบวนการจับลิ่มของเลือด ถูกถอดรหัสได้จากยีน SERPINA10 บนโครโมโซมคู่ที่ 14 โดย ZPI จัดเป็นโปรตีนในกลุ่มสารยับยั้งซีรีนโปรตีเอส (เซอร์ปิน) เคลดเอในขั้นตอนการออกฤทธิ์ เพื่อให้ ZPI สามารถต้านการทำงานของเอนไซม์เป้าหมายได้อย่างเต็มที่ จำเป็นต้องอาศัยโปรตีนแซดเพื่อให้ช่วยในการเกิดปฏิกิริยา จึงเป็นที่มาของการกำหนดชื่อโปรตีนชนิดนี้ ซึ่งโปรตีนแซดดังกล่าวก็จัดเป็นโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกระบวนการจับลิ่มของเลือด โดยจะออกฤทธิ์ต้านการทำงานของแฟคเตอร์ XZPI มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 72 กิโลดัลตัน ถูกสร้างขึ้นที่ตับ โครงสร้างประกอบไปด้วยกรดอะมิโนจำนวน 444 มอนอเมอร์ ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1998 ระหว่างการศึกษาการทำงานของโปรตีนแซด[1] และสามารถจำลองโครงสร้างได้สำเร็จในปี ค.ศ. 2000[2] และมีการศึกษาทางคลินิกที่พบว่า ภาวะพร่อง ZPI มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (thrombophilia) โดยพบผู้ที่มีความผิดปกติของ ZPI ในกลุ่มผู้ป่วยภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ (venous thromboembolism) มากถึงร้อยละ 4.4[3]

สารยับยั้งโปรตีเอสชนิดพึ่งโปรตีนแซด

RefSeq NM_016186
UniProt Q9UK55
สัญลักษณ์ SERPINA10
OMIM 605271
โลคัส Chr. 14 q32.1
HUGO 15996
Entrez 51156

ใกล้เคียง

สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด สารยับยั้งเอซีอี สารยับยั้งโปรตีเอสชนิดพึ่งโปรตีนแซด สารยับยั้งการนำเซโรโทนินโดยเฉพาะไปใช้ใหม่ สารที่ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน สายัณห์ สัญญา สารัช อยู่เย็น สารพันปัญหาวุ่นวาย ของยัยแวมไพร์ขี้จุ๊ สารกันเลือดเป็นลิ่ม สายัณห์ จันทรวิบูลย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: สารยับยั้งโปรตีเอสชนิดพึ่งโปรตีนแซด //genome.ucsc.edu/cgi-bin/hgTracks?Submit=Submit&p... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11049983 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15461625 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/9689066 //www.ncbi.nlm.nih.gov/gene?cmd=retrieve&dopt=defa... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC21324 //doi.org/10.1073%2Fpnas.95.16.9250 //doi.org/10.1111%2Fj.1365-2141.2004.05189.x //doi.org/10.1182%2Fblood.V96.9.3049 http://www.genenames.org/data/hgnc_data.php?hgnc_i...