สารสำคัญ

สารสำคัญ หรือ สารสำคัญในสมุนไพร ( อังกฤษ: chemotype บางครั้ง chemovar ) เป็นเอกลักษณ์ทางเคมีที่แตกต่างกันใน พืช หรือ จุลินทรีย์ โดยมีความแตกต่างในองค์ประกอบของสารทุติยภูมิ การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและนอกเหนือพันธุกรรม (อีพีเจเนติกส์) เพียงเล็กน้อย ซึ่งมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยต่อสัณฐานวิทยาหรือกายวิภาคศาสตร์ของพืช อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในฟีโนไทป์ทางเคมี สารเคมี (สารประกอบอินทรีย์) ที่มีปริมาณมากสุดในพืชชนิดนั้น ๆ และมีประโยชน์ต่องานของนักนิเวศวิทยาทางเคมี ผู้เชี่ยวชาญทางเคมีสมุนไพร และนักเคมีภัณฑ์จากธรรมชาติ เรียกว่า สารสำคัญ (chemotype) (หรืออธิบายได้ว่าเป็น เอกลักษณ์ทางเคมีของพืช - characteristics of plant) ในทางชีววิทยาของพืชคำว่า สารสำคัญ (chemotype) ได้รับการบัญญัติขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Rolf Santesson และ Johan ลูกชายของเขาในปี 1968 โดยนิยามว่า "ส่วนที่มีลักษณะทางเคมีที่เป็นเอกลักษณ์ในกลุ่มประชากรสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถแยกออกอย่างชัดเจนทางสัณฐานวิทยา" [1]