การแบ่งประเภท ของ สำนวนไทย

  1. การแบ่งตามมูลเหตุ
    1. หมวดที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ตื่นแต่ไก่โห่ ปลากระดี่ได้น้ำ แมวไม่อยู่หนูร่าเริง ไก่แก่แม่ปลาช่อน
    2. หมวดที่เกิดจากการกระทำ เช่น ไกลปืนเที่ยง สาวไส้ให้กากิน ชักใบให้เรือเสีย ปิดทองหลังพระ สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
    3. หมวดที่เกิดจากสภาพแวดแวดล้อม เช่น ตีวัวกระทบคราด ใกล้เกลือกินด่าง ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก
    4. หมวดที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
    5. หมวดที่เกิดจากระเบียบแบบแผนประเพณีความเชื่อ เช่น กงเกวียนกำเกวียน คู่แล้วไม่แคล้วกัน ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่
    6. หมวดที่เกิดจากความประพฤติ เช่น หงิมหงิมหยิบชิ้นปลามัน ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา คบคนดูหน้าซื้อผ้าดูเนื้อ ขี้เกียจสันหลังยาว
  2. มีเสียงสัมผัส
    1. คำสัมผัส เช่น คอขาดบาดตาย (ขาด กับ บาด คล้องจองกัน) มั่งมีศรีสุข (มี กับ ศรี คล้องจองกัน) ทำมาค้าขาย (มา กับ ค้า คล้องจองกัน)
    2. 6–7 คำสัมผัส เช่น ปากเป็นเอก เลขเป็นโท (เอก กับ เลข คล้องจองกัน) คดในข้องอในกระดูก (ข้อ กับ งอ คล้องจองกัน) แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร (พระ กับ ชนะ คล้องจองกัน) ขิงก็ราข่าก็แรง (รา กับ ข่า คล้องจองกัน)
    3. 8–9 คำสัมผัส เช่น ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา
  3. ไม่มีเสียงสัมผัส
    1. 2 คำเรียงกัน เช่น กัดฟัน ของร้อน ก่อหวอด
    2. 3 คำเรียงกัน เช่น ไกลปืนเที่ยง ก้างขวางคอ ดาบสองคม พริกกับเกลือ
    3. 4 คำเรียงกัน เช่น ใกล้เกลือกินด่าง ผักชีโรยหน้า เข้าด้ายเข้าเข็ม
    4. 5 คำเรียงกัน เช่น ชักแม่น้ำทั้งห้า ลางเนื้อชอบลางยา ขว้างงูไม่พ้นคอ
    5. 6–7 คำเรียงกัน เช่น ยกภูเขาออกจากอก วันพระไม่มีหนเดียว ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ