ประวัติ ของ สำนักวิชาแพทยศาสตร์_มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[1] เป็นสถาบันการศึกษาทางการแพทย์ซึ่งได้รับอนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และการจัดตั้งสำนักวิชาแพทยศาสตร์ในการประชุมครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2549 ต่อมาได้มีการลงนามในข้อตกลงเรื่องความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ณ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยนายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 คณะกรรมการจากกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยได้มาตรวจเยี่ยมประเมินมาตรฐานหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รวมทั้งโรงพยาบาลตรัง และโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ซึ่งเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ เมื่อวันที่ 12-14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ต่อมาได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสถาบันพี่เลี้ยง คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 สำหรับปลัดกระทรวงสาธารณสุขกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยลักษณ์ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองวิชาการของแพทยสภาเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2550 และได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการแพทยสภาเพื่อการรับรองหลักสูตร เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 แพทยสภาได้แจ้งผลการพิจารณารับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตแพทย์ ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ รับผิดชอบ ใฝ่รู้ มีการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง เป็นผู้ที่มีน้ำใจ มีสำนึกสาธารณะ มีคุณธรรม และสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นได้ บัณฑิตแพทย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นผู้มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก ระเบียบวิธีการวิจัยทางการแพทย์ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 นอกจากนั้นบัณฑิตแพทย์ ต้องมีทักษะพื้นฐานทางวิชาชีพ ได้แก่ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะในการสร้างสัมพันธภาพ และการติดต่อสื่อสาร ทักษะการสอบถามประวัติและการตรวจร่างกาย ทักษะการส่งตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการ อย่างถูกต้อง ทักษะการวินิจฉัยโรคให้สอดคล้องกับสาเหตุ ทักษะการดูแลรักษา รวมทั้งการส่งต่ออย่างเหมาะสม และสามารถทำหัตถการทางคลินิกตามเกณฑ์มาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา รวมถึงทักษะการสืบค้น และการบริหารข้อมูลสารสนเทศ บัณฑิตแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยังเป็นผู้ที่มีเจตคติที่ดีในการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนด้วยความเต็มใจ พร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาชาวบ้านและวิถีชุมชนท้องถิ่น

ปีการศึกษา 2552 สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีนักศึกษาแพทย์ 2 รุ่น ตามโควตาที่ได้รับการจัดสรรจากกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 95 คน จากพื้นที่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง และจังหวัดภูเก็ต

ปีการศึกษา 2557 สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขยายพื้นที่รับนักศึกษารุ่นที่ 7 จำนวน 48 คน จาก 3 จังหวัด เป็น 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา[2]

ใกล้เคียง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย) สำนักพระราชวัง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานสอบสวนกลาง สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย) สำนักงานราชบัณฑิตยสภา สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ สำนักข่าวไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ