ของที่เก็บรักษา ของ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุและบันทึกต่าง ๆ ของรัฐบาลและของสาธารณะมากกว่าหนึ่งล้านรายการ อาทิ เอกสารกระดาษ ใบตาล ภาพถ่าย รูปภาพ โปสเตอร์ วิดีโอเทป และการบันทึกเสียงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงปัจจุบัน [2]

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติมีปริมาณเอกสารในคลังเก็บเอกสาร ดังนี้[1]

  • เอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร 10,285 ฟุต
  • เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ
    • ฟิล์มกระจก จำนวน 31,289 แผ่น
    • ภาพ จำนวน 451,504 ภาพ
    • ฟิล์ม จำนวน 816,118 ภาพ
    • แผนที่ แผนผัง แบบแปลน จำนวน 20,187 แผ่น
    • โปสเตอร์ จำนวน 2,496 แผ่น
    • ปฏิทิน จำนวน 4,472 แผ่น
    • แถบบันทึกเสียง จำนวน 4,467 ม้วน
    • วีดิทัศน์ จำนวน 3,941 ม้วน
    • ไมโครฟิล์ม จำนวน 9,731 ม้วน
    • ซีดี จำนวน 734 แผ่น
    • แถบบันทึกภาพดิจิตอล จำนวน 34 ม้วน

  • เอกสารเย็บเล่ม สิ่งพิมพ์รัฐบาล หนังสือหายาก จำนวน 44,023 เล่ม
  • เอกสารการประชุม บันทึกความทรงจำ บันทึกเหตุการณ์ จำนวน 1,867 เรื่อง
  • เอกสารข่าว จำนวน 677,443 ข่าว
หมายเหตุ: เอกสาร 1 ฟุต เท่ากับ 3 แฟ้มผูก = 75 เรื่อง = 1,500 แผ่น (1 ปึก 50 แผ่น), เอกสารเย็บเล่ม หนังสือ ข่าว x 33 แผ่น, ฟิล์ม 1 ม้วน x 30 เฟรม, เอกสาร 3 กล่อง = 1 ฟุต

หอจดหมายเหตุฯ มีเอกสารที่อ้างอิงถึงต่างประเทศจำนวนไม่มาก โดยนักวิจัยวัฒนธรรมชาวไทย ภูธร ภูมะธน กล่าวว่าเมื่อเขาต้องการค้นหาประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา เขาต้องเดินทางไปที่หอจดหมายเหตุของประเทศฝรั่งเศส [3]

ใกล้เคียง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย) สำนักพระราชวัง สำนักข่าวไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานสอบสวนกลาง สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง