ประวัติ ของ สินจัย_เปล่งพานิช

สินจัย เกิดและโตที่กรุงเทพมหานคร บิดาชื่อนายสวัสดิ์ มารดาชื่อนางสุจินต์ มีพี่น้อง 4 คน เป็นคนที่ 2 พี่สาวต่างมารดาหนึ่งคน และน้องชายสองคน การศึกษา จบระดับประถมต้นจากโรงเรียนศรีอยุธยา

เริ่มเข้าวงการ ปี 2523 ได้ตำแหน่งนางสงกรานต์ของช่อง 5 และไปประกวด Miss young International เข้ารอบ 15 คนและเป็นนางแบบให้กับห้างไทยไดมารู ด้วยรูปร่างที่มีส่วนสูงถึง 170 เซนติเมตร จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงเมื่อปี 2524 ด้วยการถ่ายแบบให้กับนิตยสารหลายฉบับ

จากนั้นก็ได้มีโอกาสเข้าสู่วงการภาพยนตร์ไทย แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกเมื่ออายุ 16 ปี จากเรื่อง “ สายสวาทยังไม่สิ้น” (2525) กำกับโดยคุณแจ๊สสยาม แสดงนำเป็นเรื่องแรกคู่กับคุณฉัตรชัยและคุณพิศาล เป็นภาพยนตร์ของไฟว์สตาร์ ต่อจากนั้นได้แสดงเรื่องกตัญญูประกาศิต แสดงร่วมกับโจวหยุนฟะ แล้วเริ่มมีชื่อเสียงเมื่อแสดงเรื่องเพลิงพิศวาส กำกับโดยหม่อมน้อยและได้รางวัลพระสุรัสวดีนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมและนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากนวลฉวีและเพลิงพิศวาส กำกับโดยอาจารย์บรรจง ในปีเดียวกัน[1] นวลฉวีได้รับการตอบรับที่ดีมาก เรื่องนี้แสดงคู่กับคุณอภิชาติ หาลำเจียก

ปี 2528 เล่นละครเรื่องแรก "ระนาดเอก" ทางช่อง 7 และในปี 2532 มีผลงานการเขียนหนังสือรวมเล่มกลอนเปล่า "ความงามแสนเหงา" โดยใช้นามปากกาว่า "ปรางทราย" จนปี 2533 ได้มีผลงานออกอัลบั้มเพลงชุด "ทอฝัน" กับค่ายแกรมมี่

ปี 2537 เธอได้รับบทบาทการแสดงละครที่ท้าทายความสามารถทางการแสดงของเธอมาก กับ การรับบท "มธุสร" จากละครเรื่อง ล่า ออกอากาศทาง ช่อง ททบ.5 เป็นแม่กับลูกสาวที่ถูกทารุณกรรมทางกายและจิตใจ โดยสามีของเธอ และโจรผู้ร้าย โดยมธุสร กับ ผึ้ง(ลูกสาว) (รับบทโดย ทราย เจริญปุระ) โดนโจร 7 คน ข่มขืน และผึ้งก็เกิดอาการทางจิต กฎหมายและสังคมทำอะไรไม่ได้ มธุสรเลยใช้ศาลเตี้ยของตัวเองลงมือฆาตรกรรมโจร 7 ศพ ในยุคสมัยนั้นสมัยนั้นถือเป็นละครที่เนื้อเรื่องที่รุนแรงมาก เพราะเนื้อหาละครมีความเครียด หดหู่ ถึงขนาดที่เธอเองอยากเข้าถึงตัวละคร "มธุสร" จนสลัดคาแรคเตอร์นี้ไม่ออก จนต้องให้แม่ชีเทศน์เพื่อให้หลุดจากตัวละครนี้ จนปลายปีในงานประกาศผล รางวัลโทรทัศน์ทองคำ เธอเลยได้รับรางวัลนักแสดงหญิงดีเด่น ไปครองได้สำเร็จ จนเป็นปรากฏการ์ณที่คนในฮอลล์ รวมถึงนักแสดงที่ได้รับรางวัลและเข้าชิงในปีนั้น ยืนปรมมือให้เธอแทบทุกคน

ส่วนทางด้านการแสดงภาพยนตร์มีผลงานเช่น “ สายสวาทยังไม่สิ้น” (2525), “ ช่างมันฉันไม่แคร์” (2529), “น้ำเซาะทราย” (2529), “ สะแกกรัง” (2529) , “ สะใภ้” (2529), “ แสงสูรย์” (2529), “ ฉันผู้ชายนะยะ” (2530), “ ฉันรักผัวเขา” (2530), "พลอยทะเล" (2530), “ ไฟซ่อนเชื้อ” (2530), “ ครั้งเดียวก็เกินพอ” (2531), “ ภุมรีสีทอง” (2531), “ รักด้วยชีวิต” (2531), “ วิวาห์จำแลง” (2531), “ รักข้างแรม” (2532) ฯลฯ "รักแห่งสยาม" (2550)ซึ่งจากภาพยนตร์เรื่องนี้เองทำให้เธอได้รับรางวัล ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากบท "สุนีย์" อาทิ รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 16, คมชัดลึก อวอร์ด และ สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส[2] และอีกหลายรางวัล อีกทั้งเธอยังถูกจัดอันดับให้เป็นบุคคลบันเทิงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดท่านหนึ่งของประเทศไทย และต่อมาก็ได้รับรางวัลนักแสดงหญิงแห่งปี จากไนน์เอ็นเทอร์เท็นอวอดส์ 2008

เธอกลับมาแสดงภาพยนตร์อีกครั้งในปี 2553 ในบท "นิดา" หญิงวัยกลางคนที่มีลูกชายป่วยเป็น "โรคฮิคิโคโมริ" กับภาพยนตร์เรื่อง Who are you? ใคร...ในห้อง ในการกำกับของภาคภูมิ วงษ์จินดา และ เขียนบทโดย เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ [3]