วิธีเขียน ของ สีฝุ่นเทมเพอรา

เทมเพอราเดิมทำโดยการบดรงควัตถุที่เป็นผงแห้งลงไปพร้อมกับสิ่งที่ผสานสีกับพื้นผิวที่ทาเช่นไข่, กาว, น้ำผึ้ง, น้ำ, นมในรูปของcasein หรือ ต้นยางต่างๆ

การเขียนก็เริ่มด้วยการนำรงควัตถุปริมาณเล็กน้อยบนจานสี จาน หรือ ชาม และเติมสารที่เป็นตัวเชื่อมราวเท่าตัว และทำการผสม ปริมาณของสารเชื่อมก็แล้วแต่สีที่ใช้ จากนั้นก็เติมน้ำกลั่น

เทมเพอราไข่

พระกระยาหารมื้อสุดท้ายโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี, เทมเพอราบนชอล์ค, ค.ศ. 1495–ค.ศ. 1498บานพับภาพทาร์ลาที” โดยเปียโตร ลอเร็นเซ็ตติ, เทมเพอราและทองบนแผง, ค.ศ. 1320

วิธีการเขียนเทมเพอราที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือ “เทมเพอราไข่” วิธีการผสมแบบนี้จะใช้เฉพาะไข่แดง ส่วนผสมก็จะได้รับการปรับไปเรื่อยๆ เพื่อรักษาดุลย์ระหว่าง “ความมัน” และ “ความใส” ที่ต้องการ โดยการปรับปริมาณไข่และปริมาณน้ำ เมื่อเทมเพอราเริ่มแห้งจิตรกรก็จะเติมน้ำเพื่อรักษาระดับความข้นที่ต้องการเอาไว้ และป้องกันการแห้งตัวของไข่แดงเมื่อปะทะอากาศ

วิธีผสมแบบอื่นอาจจะใช้เฉพาะไข่ขาว หรือ ทั้งไข่ขาวและไข่แดงเพื่อให้ได้ผลที่ต้องการ บางครั้งก็อาจจะเพิ่มส่วนผสมอื่นๆ เช่นน้ำมัน หรือขี้ผึ้งเหลว ตัวอย่างการเติมน้ำมันก็จะไม่เกินอัตรา 1:1 ทำให้ได้ผลไปอีกแบบหนึ่งและทำให้สีไม่หนา

รงควัตถุ

รงควัตถุที่ใช้โดยจิตรกรในยุคกลางเช่นสีแดงชาดเป็นสีที่เป็นพิษ จิตรกรส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้สีสังเคราะห์ ที่มีความเป็นพิษน้อยกว่าแต่ให้สีที่คล้ายคลึงกับสีที่ทำจากรงควัตถุตามวิธีเดิม แต่กระนั้นรงควัตถุสมัยใหม่บางสีก็ยังเป็นสารอันตรายฉะนั้นการเก็บรักษาต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง เช่นเก็บสีในสภาพที่เปียกเพื่อป้องกันการหายใจฝุ่นสีเข้าไป

การใช้

สีเทมเพอราจะแห้งอย่างรวดเร็ว การใช้ก็มักจะทาบางๆ กึ่งใส หรือ ใส การเขียนเทมเพอราเป็นวิธีการเขียนที่เที่ยงเมื่อใช้วิธีการเขียนที่ทำกันมาที่ใช้การวาดด้วยฝีแปรงสั้นๆ ถื่ๆ ไขว้กัน เมื่อแห้งจะทำให้ดูเหมือนมีผิวเรียบ สีเทมเพอราใช้ได้แต่เพียงบางๆ เช่นสีน้ำมันที่ทาได้เป็นชั้นหนาๆ หลายชั้นจิตรกรรมสีเทมเพอราจึงแทบจะไม่มีภาพเขียนที่มีสีที่เรียกว่าลึกเหมือนกับสีน้ำมัน ซึ่งทำให้จิตรกรรมสีเทมเพอราที่ไม่ได้เคลือบเงาดูเหมือนสีพาสเทล แต่ถ้าเคลือบน้ำมันแล้วก็จะทำให้สีดูเข้มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันสีเทมเพอราจะไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา[3]เหมือนสีน้ำมันที่จะเข้มขึ้นและออกเหลือง และใสขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น[4]

พื้นผิว

สีเทมเพอราจะติดพื้นผิวที่ซับความชื้นที่มีระดับ “น้ำมัน” ต่ำได้ดีกว่าถ้าใช้สารที่เป็นตัวเชื่อม[5] (ตามสูตรที่ว่า “ไขมันมากกว่าเนื้อ”[6] พื้นที่เขียนเดิมส่วนใหญ่จะเป็นชอล์ค (gesso) ที่ไม่ยืดหยุ่น และซับสเตรตที่มักจะแข็งเช่นกัน[7] โดยทั่วไปแล้วก็จะใช้แผงไม้เป็นซับสเตรต หรือ กระดาษหนาก็ใช้ได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: สีฝุ่นเทมเพอรา http://www.danielsmith.com/Learn/Articles/Making-E... http://www.eggtempera.com/index.html http://www.lindapaul.com/about_egg_tempera.htm http://www.owlpen.com/paintedclothsessay.shtml http://www.reuters.com/article/newsOne/idUSISL2604... http://www.temperaworkshop.com/technique/technique... http://www.watercolorpainting.com/eggtempera.htm http://centraalmuseum.nl/page.ocl?mode=&version=&p... http://www.eggtempera.org