บทบาทในการเมืองกัมพูชา ของ สีสุวัตถิ์_สิริมตะ

สิริมตะเกิดในพนมเปญและอยู่ในสายราชสกุลสีสุวัตถิ์ของราชวงศ์กัมพูชา เป็นพระราชนัดดาของพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ ในสมัยที่เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส สิริมตะเป็นตัวเลือกหนึ่งในการสืบราชสมบัติต่อจากพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์มุนีวงศ์ ซึ่งเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2484 แต่ฝรั่งเศสเลือกสมเด็จพระนโรดม สีหนุขึ้นเป็นกษัตริย์ สิริมตะเป็นผู้ต่อต้านสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ซึ่งสมเด็จพระนโรดม สีหนุได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าสิริมตะเกลียดพระองค์ เพราะคิดว่าสมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์มุนีเรศจะเลือกเขาขึ้นเป็นกษัตริย์[1]

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง สิริมตะมีบทบาทในการเมืองกัมพูชามากขึ้นในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของพรรคเขมรใหม่ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวา นำโดยลน นล พระองค์เข้าร่วมการเลือกตั้ง พ.ศ. 2490 แต่ไม่ได้รับเลือก[2] สมเด็จพระนโรดม สีหนุได้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยพฤตินัยใน พ.ศ. 2495 และได้ให้สิริมตะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลเฉพาะกาล[3] จนกระทั่งได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2497 พรรคเขมรใหม่ได้รวมเข้ากับพรรคสังคมราษฎร์นิยมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2498

แม้ว่าจะให้ความร่วมมือกับฝ่ายขวาในพรรคสังคม แต่สิริมตะก็ยังมีความเห็นตรงข้ามกับสมเด็จพระนโรดม สีหนุ โดยเฉพาะในเรื่องกิจกรรมของเวียดนามเหนือตามแนวชายแดนกัมพูชา ในช่วงที่พรรคสังคมราษฎร์นิยมครองอำนาจ สมเด็จพระนโรดม สีหนุพยายามลดบทบาทของสิริมตะ โดยให้ไปเป็นทูตที่จีน ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น

ใกล้เคียง

สีสุวัตถิ์ สิริมตะ สีสุวัตถิ์ ยุตติวงศ์ สีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีรัตนา สีสุวัตถิ์ วัฑฒ์ฉายาวงศ์ สีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ สีสุวัตถิ์ โทมิโก สีสุวัตถิ์ กุสุมะ สีสุวัตถิ์ มุนีเรศ สีสุวัตถิ์ ฤทธรวงค์ สีสุวัตถิ์ มุนีพงษ์