ลักษณะการแต่ง ของ สุจิตตาลังการ

คัมภีร์สุจิตตาลังการ แบ่งออกเป็น การวิเคราะห์ การอธิบายศัพท์เช่น คำว่า จิต มีวิเคราะห์ว่า ธรรมชาติใด ย่อมคิด อธิบายความว่า ย่อมรู้แจ้งอารมณ์เพราะเหตุนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า จิต คำว่า เจตสิก มีวิเคราะห์ว่า ธรรมชาติใดมีในจิต โดยมีความ เป็นไปเนื่องกับจิตนั้น เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่าเจตสิก คำว่า รูป มีวิเคราะห์ว่า ธรรมชาติใดย่อม เปลี่ยนแปร คือ ย่อมถึงความเปลี่ยนแปร ด้วยปัจจัยที่เป็นข้าศึกมีความหนาวและความร้อนเป็นต้น หรือ อันปัจจัยที่เป็นข้าศึกมีความหนาวและความร้อนเป็นต้นให้ถึงความเปลี่ยนแปร เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่ารูป และคำว่า นิพพาน มีวิเคราะห์ว่า ธรรมชาติที่ชื่อว่านิพพาน เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ออกไปแล้ว จากตัณหา ที่เรียกว่า วานะ เพราะร้อยรัด คือเย็บไว้ ซึ่งภพน้อยภพใหญ่ ผู้วิจัยมีความเห็นว่า พระกัลยาณเถระพยายามรักษาพระอภิธรรมแบบดั้งเดิมเอาไว้โดยหยิบเอาคำว่า จิต เจตสิก รูป และ นิพพานใน พระอภิธรรมปิฎกมาวิเคราะห์โดยไม่เปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระดั้งเดิมของธรรมะ เป็นการดำรงไว้ซึ่งคำสอน ของพระพุทธเจ้าไว้อีกด้วย และท่านได้นำคำ สำคัญในพระอภิธรรมมาอธิบายและขยายความให้มีความ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และวิเคราะห์การใช้ถ้อยคำในคัมภีร์สุจิตตาลังการเช่น คำว่า ฐาน เป็น ถาน เช่น กามโลเก ทส ถานานิ ภวนฺติ. ตํ ยถา. ปฏิสนฺธิถานํ ภวงฺคถานํ อาวชฺชนถานํ ปญฺจวิญฺญาณถานํ สมฺปฏิจฺฉนฺนถานํ สนฺติรณถานํ โวฏฺฐพฺพนถานํ ชวนถานํ ตทาลมฺพณถานํ จุติถานํ. เป็นต้น แปลว่า ในกามโลก ฐานมี 10 ได้แก่ ปฏิสนธิฐาน ภวังคฐาน อาวัชชนฐาน ปัญจวิญญาณฐาน สัมปฏิจฉนฐาน สันตีรณฐาน โวฏฐัพพนฐาน ชวนฐาน ตทาลัมพนฐาน จุติฐาน คำว่า ถาน นี้ มีใช้ในคัมภีร์สุจิตตาลังการ เป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยเข้าใจว่า ต้นฉบับในคัมภีร์สุจิตตาลังการใช้คำว่า ถาน ไม่ใช้ฐาน ผู้บริวรรตจึงได้ ปริวรรตตามตัวบาลีอักษรขอมเดิมจึงเป็น ถาน แต่ในเวลาแปลแล้วแปลเหมือนกัน คือ ที่ตั้ง แต่ไม่ค่อยพบในคัมภีร์อื่นๆ